TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

พระผง 80 ปี ผสมเนื้อผงห้ารอบ

รหัสสินค้า: 000369

ราคา: 300,000.00 บาท

รายละเอียด:


พระผง 80 ปี ผสมเนื้อผงห้ารอบ ตะกรุดทองคำ เกษา จีวร  องค์เดียวได้ครบทุกอย่าง เลี่ยมเงินพร้อมบูชาครับ

ของดีแท้ หายาก..สมัยหลวงพ่อยังมีชีวิต ทางวัดเปิดให้สั่งจอง แค่ หน้าวัดมีจำหน่ายแล้ว..ชองแท้มันต้องสมราคา

หลวงพ่อเกษม เขมโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

 

พระเกษม เขมโก

(เจ้าเกษม ณ ลำปาง เขมโก)
หลวงพ่อเกษม

หลวงพ่อเกษม.jpg

เกิด

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455

อุปสมบท

พ.ศ. 2475

มรณภาพ

15 มกราคม พ.ศ. 2539

พรรษา

64

อายุ

83

วัด

สุสานไตรลักษณ์

จังหวัด

ลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ที่ออกผนวชอีกด้วย

ประวัติ

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก

Luang Phor Kasem Kemagoh ( Nov 28, 2455 - Jan 15, 2539 )

Luang Phor (= reverend father, venerable monk) Kasem was born as Kemagoh Pikku in a family of descendants of the Lampang King from the Lanna Period.

He became a novice monk in BE2468 after the death of his uncle, the abbot of Wat Bunyeun. In BE2470, he went to Bangkok, Wat Setuwan to study Pali language and after some time he returned back to the North to continue studies in Wat Seelom and Wat Bunyawaht.
After passing his exams in Pali in BE2476, he was ordained as a monk at Wat Bunyeun at the age of 21. His preceptor was Tahn Jow Koon Tammajindah.

He met Luang Phor Krubah Gaen, a very famous monk in North Thailand, a forest monk who had rich experience in meditation. Luang Phor Kasem became his disciple and started practising with him in forests and cemeteries.

When the abbot of Wat Bunyeun - Pra Dtomkum left his post and the temple (because of boredom), the villagers approached young Luang Phor Kasem (still deep in practicing meditation) to return to Lampang and fill the post of a new abbot.

Luang Phor Kasem continued his learning dhamma and practicing meditation even when he was the abbot. The more he trained, the more he realised how uncertain the life is. However his duties as an abbot kept him busy the way that was far away from his spiritual intentions more than he thought. Therefore, in BE2492 he left the Wat and settled at Susahn Sahlahwangthan, a cemetery surrounded by the jungle at Lampang suburbs (see the map). The area was looking very different to the well developed site we as can see it nowadays. Many people were scared to even go there since it was said to be haunted. LP Kasem was determined to keep practicing the highest meditation right there. He would sit in front of the crematory and watch the burning corpses. Whether in hot sun or raining, Luang Phor would just sit quietly and watched dead corpses being burned to ashes.

Luang Phor Kasem would sit deep in meditation for as long as 3 months, without any shelter under the hot sun or heavy rain. Even though his robes were wet of rain, or during the cold season when the cold wind blew, Luang Phor Kasem would just sit quietly without any complain or request. Also, he would stay without food for as long as 49 days. Since BE2514, he only had bathed once a year, but there was no strange or foul odour around him, despite the sweat was pouring down his body under the roasting sun. And more surprisingly, without a shelter or mosquito net, he never suffered from mosquito bites at the cemetery.
In his meditations he was often in touch with his friend Luang Phoo Doo from Wat Sakae, Ayuthaya.

Luang Phor Kasem would always point out that as a forest monk he does not require any property. The only things he owned were an alms bowl, his robe he was wearing and a piece of human bone to practice meditations. He did not even own any shoes or even pillow to sleep. To him, a pillow was a luxury. He used to sleep on the ground at the same spot where he was meditating. Whatever people gave to him, he would give away to the other monks. He was just completely determined to find the truth of life. He asked for nothing in life - although, as a descendant of the royal blood in Lampang, he could enjoy all the luxury.

Luang Phor Kasem passed away on Jan 15, 2539 (7:42 pm) at the Lampang hospital. He was 84. A memorial and mausoleum were built at the area by the cemetery and his dead body was placed in a glass coffin for reasons that make yet many local people upset. However he had reputedly never wished to be burned. Or ... had he?

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook