หลวงพ่อ เกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์ ปี 2535
ยี่ห้อ: หลวงพ่อ
เกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์
รุ่น: หลวงพ่อ
เกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์
รายละเอียด: หลวงพ่อ
เกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
พระเกจิย์ ผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ
หนึงในดวงใจคุณ
พระเกษม เขมโก |
(เจ้าเกษม ณ ลำปาง
เขมโก)
หลวงพ่อเกษม |
|
เกิด |
28
พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 |
อุปสมบท |
พ.ศ.
2475 |
มรณภาพ |
15
มกราคม พ.ศ. 2539 |
พรรษา |
64 |
อายุ |
83 |
วัด |
สุสานไตรลักษณ์ |
จังหวัด |
ลำปาง |
หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม
ณ ลำปาง)
เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน
พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร
ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน
อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน
"ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
(เจ้าเจ็ดตน)"
ที่ออกผนวชอีกด้วย
ประวัติ
หลวงพ่อเกษม
เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม
ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่
28 พฤศจิกายน 2455
ตรงกับวันพุธ เดือนยี่
(เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131
เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ
ลำปาง
(ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น
มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ
เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง
และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท
พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ
เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี
ได้บรรพชาเป็นสามเณร
ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ
(บวชหน้าไฟ)
ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7
วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ
15
ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน
จังหวัดลำปาง
ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี
พ.ศ. 2474
และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา
โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง
เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า
"เขมโก" แปลว่า
ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ
เจ้าเกษม เขมโก
ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม
ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479
ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก
ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้
รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี
แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ
จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ
เจ้าเกษม เขมโก
ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ
เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว
ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา
จนกระทั่ง
ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา
คือ ครูบาแก่น สุมโน
ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์
ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน
ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก
จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์
และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม
พอครบกำหนดออก
ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย
เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง
ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า
พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก
มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส
เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน
ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย
แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้
ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่
จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน
หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์
แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น
ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่
ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ
สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ
เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ
ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง
หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ
ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา
19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15
มกราคม พ.ศ.
2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11
ค่ำ เดือน 2
ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ
ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป
ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ
ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน
นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก