TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

  

 

Nueng Kowito 神父 (Phra Kru Kowit Samutkhun), Chulamani Temple, Bang Chang Subdistrict, Amphawa District, Samut Songkhram Province 他是一位非常有名的高僧,20多年前,他是龍波空、Bang Kapom Temple、Luang Pho Cham、Chulamani Temple、Luang Pu Jai、Sadet Temple等地的大弟子。普通的。 供奉 Nueng 神父的護身符,夜功府 Chulamani 寺

Nueng Kowito 神父 (Phra Kru Kowit Samutkhun) Wat Chulamani 的傳記
根據簡史 Nueng神父,原名Nueng Taosuwan,1909年2月14日雞年出生,Thomya-Mang Tab先生之子,出生於安帕瓦Phraek Nam Daeng街道4號村Ban Khlong Yai夜功府府縣。 他於 1920 年從 Wat Bangkapom 學校小學 4 畢業。
他於 1932 年 7 月 29 日在夜功府安帕瓦區安帕瓦區邦卡彭寺的 ubosot 與邦卡彭寺的方丈 Luang Por Kong Thamchoto 一起出家。 他是 Wat Chulamani 寺的住持 Luang Pho Cham Soros 的導師。 是和尚 Phra Ajahn Plong,Bang Ka Phom 寺,是一座紀念碑

教育 您可以參加法醫考試。 1936年在Wat Chulamani School。同時,他非常精通Vipassana和Puttakhom,因為他一開始有一位好老師。 自受戒以來 加上求學的決心 並嚴格練習 師從龍波崗,邦家蓬寺,著名僧人 夜功府 擁有 5 枚 Benjaphakee 硬幣中的 1 枚,這是泰國護身符界最受歡迎的硬幣。 此外,Nueang 神父 他還向Wat Chulamani的住持Luang Pho Cham和著名的Candy Takrud傳奇的創造者Luang Pu Jai,Wat Sadet學習了各種魔法。 因此,不要對知識和能力感到驚訝。 Phutthakhom 線的魔法強度 Luang Pho Nueang 是從許多勇敢的大師那裡繼承而來的。
努昂神父 是夜功府人民的聖僧 及周邊省份 有很大的信心 包括開發、創造和繁榮 Chulamanee Temple 的能力 和當地社區一直,直到他獲得榮譽稱號 是受委託的教務長 教務長 Kowit Samutkun 在 1953 年被推遲到教務長 住持法師 2517 年原始皇室名稱的內觀 Kanthura 部

Wat Chulamani 是一座古老的寺廟,大概建於 1629 年至 1647 年間,在 Prasat Thong 國王統治期間,原名 Mae Chao Thip 寺。 是歷史上重要的寺廟。 關於卻克里王朝,王室(邦昌家族),前身為修道院和禮拜堂 全部由柚木製成 隨著時間的推移,它不可避免地會腐爛和惡化 它已恢復到堅固耐用的狀態。 更漂亮 憑藉 Nueang 神父的能力,Wat Chulamani 有了一位住持來統治 據可追溯如下: 1. Phra Rector 站立 2. Phra Athikarniam 3.佩大師 4. 帕阿贊潘 5. 烏姆神父 6. Phra Achan Noom 7. 湛神父 8. Nueng Kowito 神父和 7. Phra Khru Sophitwiriyaphon (Phra Ajarn It Phatthajaro),現任方丈。

努昂神父 已負責 Wat Chulamani 的修復工作。 直到它是一座繁榮的寺廟 並且各方面都齊全 尤其是3層的大理石ubosot,寬40米,長80米,高10米,造價高達數千萬泰銖。 1968 年 8 月 15 日奠基,1987 年年初由最高宗主教(Juan Uttayi)主持儀式。Nueng 神父開始感到不適。 直到1987年11月27日早上6點20分,他去世了。 在Samitivej Siri Hospital安詳離世,享年78歲,56歲,依舊悲傷難過。 對許多弟子 只留下 Wat Chulamani 的教義、聖物和建築工程 那個好漂亮 陰暗到今天 而最神奇的是 “Luang Pho Nueang”的體質 一點都不爛。 寺廟和門徒一起創造的 mondop 上的玻璃櫃內保持原始狀態,創造了一個非常美麗的

護身符和聖物 努昂神父 不論是自建的,還是坐在土裡的,都是高等佛德。 搬運工既有元貿易經驗。 刀槍不入

หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมาก เมื่อกว่า ๒๐ ปีก่อน ท่านเป็นศิษย์เอกของ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ฯลฯ วิชาความรู้ทางคาถาอาคมจึงย่อมไม่ธรรมดา พระคาถาบูชาหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

ประวัติหลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี
ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา - นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ ๔ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม ๔ จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓
ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๗๕ ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์

การศึกษา ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี ๒๔๗๙ ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจาก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จ.สมุทรสงคราม เจ้าของเหรียญ ๑ ใน ๕ ชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องเมืองไทย นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่านด้วยกัน
หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดจุฬามณี และชุมชนท้องถิ่น มาโดยตลอด จนทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ เมื่อปี ๒๔๙๖ และเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ เมื่อปี ๒๕๑๗ ในราชทินนามเดิม

วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี ๒๑๗๒-๒๑๙๐ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถ ล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ ดังนี้ ๑.พระอธิการยืน ๒.พระอธิการเนียม ๓.พระอาจารย์แป๊ะ ๔.พระอาจารย์ปาน ๕.หลวงพ่ออ่วม ๖.พระอาจารย์นุ่ม ๗.หลวงพ่อแช่ม ๘.หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท และ ๗. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๑ โดย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธี เมื่อต้นปี ๒๕๓๐ หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 78 ปี 56 พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงาม และร่มรื่นจนทุกวันนี้ และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง

พระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงพ่อเนื่อง ทั้งที่ท่านสร้างเองและได้ไปนั่งปรกล้วนแล้วแต่พุทธคุณสูง ผู้พกพามีประสบการณ์ทั้งเมตาค้าขาย แคล้วคลาดคงกระพัน

 

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook