ประวัติละหารไร่
วัดละหารไร่นี้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี
พ.ศ.2354 โดยหลวงพ่อสังข์เฒ่า
รองเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่สมัยนั้น
เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งคลองด้านตรงข้ามทางทิศเหนือของวัดละหารใหญ่มีทำเลดีเหมาะแก่การปลูกพืชผัก
จึงได้หักล้างถางพงใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก
ขึ้นแรกได้สร้างที่พักร่มเงาไว้เมื่อถึงเวลาเข้าพรรณา
ก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่
ต่อมามีผู้คนไปทำไร่ในแถบใกล้ๆ
ที่นั้นมากขึ้น เห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่
เมื่อถึงวันพระก็จัดภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ
ต่อมาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น
จึงได้ก่อสร้างกุฏิวิหาร
พระสงฆ์ก็มาจำพรรษาที่นั่น
ตั้งชื่อว่า "วัดไร่วารี" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
"วัดละหารไร่"
โดยมีหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
ในภายหลังทางวัดละหารไร่ได้มีพระภิกษุแก่อวุโสขึ้นหลวงพ่อสังข์เฒ่าจึ
มอบให้ปกครองกันเอง
ส่วนตัวท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่
(ทราบว่าภายหลังได้รับการนิมนต์จากเจ้าเมืองระยองไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเก๋ง
จังหวัดระยอง) มอบหมายให้หลวงพ่อแดง
เป็นเจ้าอาวาสแทน
เต่มาได้มีเจ้าอาวาสอีกหลายรูปปกครองวัดละหารไร่
คือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์
หลวงพ่อจ๋วม
ต่อมาหลวงพ่อจ๋วมได้ลาสิกขาบท
ทำให้วัดละหารไร่ขาดพระภิกษุจำพรรษาเป็นเวลา
3 เดือน ในขณะนั้นหลวงพ่อทิม อิสริโก
(งามศรี)
ได้เดินทางกลับจากจังหวัดชลบุรี
พุทธศาสนิกชนบ้านละหารไร่จึงพร้อมใจกันนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส
เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450
หลวงพ่อทิมจึงได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่งทำด้วยไม้
ปัจจุบันได้เลื่อนย้ายมาห่างจากที่เดิมประมาณ
20 วา และบูรณะให้อยูในสภาพเดิม
ข้อมูลประวัติ
เกิด
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2422
ตรงกับเดือน 7 ปีเถาะ
เป็นบุตรของ นายแจ้ง นางอินทร์
งามศรี
อุปสมบท
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2449
ตรงกับขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ณ
วัดละหารไร่
มรณภาพ
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2518
รวมสิริอายุ 96 ปี 69 พรรษา
หลวงปู่ทิม
เกิดที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2
ตำบลละหาร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
นามเดิมของท่านชื่อ ทิม นามสกุล
งามศรี เกิดเมื่อปีเถาะ วันศุกร์
เดือน 7 ตรงกับวันที่ 16
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2422
เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี
มีพี่น้อง 3 คน หลวงปู่ทิมเป็นคนที่ 2
เมื่อตอนเด็กๆ
ท่านชอบออกเที่ยวล่าสัตว์ด้วยความคึกคะนองโดยนำมาเลี้ยงครอบครัวเรื่อยๆไป
พออายุได้ 17 ปี
บิดาของท่านได้นำตัวท่านไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ที่วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือกับท่าน
และอาจารย์อื่นๆ เป็นเวลาประมาณ 1 ปี
จนมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจ
อ่านออกเขียนได้ดีแล้ว
บิดาของหลวงปู่ทิม
จึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์
เพื่อขอลานำหลวงปู่ทิมกลับมาอยู่บ้านเช่นเดิม
หลวงปู่ทิมก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานและหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ด้วยดีตลอด
จนกระทั่งอายุเข้า 19 ปี
ท่านจึงถูกคัดเลือกเข้าเป็นทหารประจำการ
ในสมัยนั้นได้เข้ามาประจำการ
อยู่ในกรุงเทพฯถึง 4 ปีเศษ
จึงได้รับการปลดประจำการ
จากทหารกลับไปอยู่ที่บ้านเดิม
เมื่อกลับมาอยู่บ้านแล้ว บิดาของท่าน
จึงได้จัดการอุปสมบทให้ท่านเป็นพระภิกษุทันที
หลวงปู่ทิม อุปสมบทเมื่อวันที่ 7
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449
ซึ่งตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์
ขึ้น 7 ค่ำ โดยมีพระครูขาว วัดทับ
มาเป็นพระอุปัชฌาย์
และพระอาจารย์สิงห์
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เกตุ
เป็นพระกรรมวาจารย์ ณ
พัทธสีมาวัดละหารไร่
ได้ฉายาทางสงฆ์ว่า อิสริโก
หลังจากท่านได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว
ท่านก็ได้อยู่กับพระอาจารย์ที่วัดจนครบ
1 พรรษา
แล้วท่านก็ได้ขออนุญาตพระอาจารย์ของท่าน
กราบลาเพื่อออกธุดงด์ไปในหลายๆ
จังหวัด
เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเป็นเวลา
3 ปีเต็ม
ครั้นเมื่อถึงเทศกาลใกล้เข้าพรรษา
ท่านก็กลับไปถึงจังหวัดชลบุรี
และท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูม
เป็นเวลาถึง 2 พรรษา
ท่านได้เที่ยวร่ำเรียนวิชากับเกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ
หลายอาจารย์ด้วยกัน ที่เป็นพระก็มี
ฆราวาสก็มี ที่ท่านเล่าให้ฟังมี
โยมรอด โยมเริ่ม และ โยมสาย ทั้ง 3
คนเป็นฆราวาสที่มีวิชาอาคมสูงเป็นที่นับถือของชาวบ้านแถบนั้นมาก
จนกระทั่งท่านได้รับตำราตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า
เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนในสมัยนั้น
หลวงปู่สังข์เฒ่ารูปนี้มีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆ
ของท่าน
และเป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น
พร้อมกับเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น
ขนาดน้ำลายของท่านทีถ่มออกมาโดนพื้นตรงไหนแล้วพื้นจะแตกทันที
เมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าทางวิชาอาคมของท่าน
จึงได้นิมนต์ให้ท่านมาอยู่ทีวัดเก๋งจีนและได้สร้างพระเนื้อตะกั่ว
วัดเก๋งจีน ขึ้นมาหลายพิมพ์ด้วยกัน
ซึ่งก็มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง
หลวงปู่สังข์เฒ่า
ท่านได้ทิ้งตำรับตำราที่ท่านได้เขียนขึ้นไว้ในสมัยของท่านให้กับวัดละหารไร่
และก็ได้ตกทอดมาเป็นของหลวงปู่ทิมซึงเป็นหลานของท่าน
ใช้ศึกษาหาความรู้จากตำราของหลวงปู่สังข์เฒ่านี้
นอกจากนี้ หลวงปู่ทิม
ยังได้เรียนทางวิปัสสนากัมมัฎฐานกับพระอาจารย์อื่นๆ
อีกหลายรูปด้วยกันซึ่งต่อมาเมื่อท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดละหารไร่
ท่านก็เริ่มพัฒนาวัดโดยการก่อสร้างเสนาสนะบูรณะซ่อมแซมกุฏิ
และอื่นๆ อีกมากมาย
ญาติโยมทั้งหลายก็เริ่มมีความเลื่อมใสในตัวท่านมาก
เพราะท่านเป็นพระทีสมณะสำรวมเคร่งในธรรมะและวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก
ต่อมาท่านจึงได้ชักชวนพวกชาวบ้านและญาติโยมทั้งหลายให้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น
1 หลัง ในเวลาปีเศษๆ ก็เสร็จ
พร้อมกับผูกพัทธสีมาจนเป็นที่เรียบร้อยในเวลาเดียวกันหลังจากสร้างพระอุโบสถเสร็จ
และต่อมาท่านจึงได้ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นอีก
1 หลัง
โดยที่ทางอำเภอและจังหวัดร่วมด้วย
ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 8
เดือนเท่านั้นก็แล้วเสร็จเรียบร้อย
เปิดให้นักเรียนเข้าเรียนได้ทันที
หลังจากนั้นท่านก็ได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง
และก็ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ
โดยมีหลวงปู่เป็นผู้นำพร้อมกับชาวบ้านจึงทำให้ชาวบ้านและญาติโยมทั้งหลายมีความเคารพนับถือเลื่อมใสในตัวท่านมากยิ่งขึ้น
จึงจัดได้ว่าหลวงปู่ทิมท่านเป็นพระนักพัฒนา
ที่มีความสามารถเป็นอย่างสูง
สมควรที่จะได้รับการเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2478 หลวงปู่ทิม
จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน
โดยได้รับการส่งหมายและตราตั้งมาไว้ที่ทางเจ้าคณะจังหวัด
แต่หลวงปู่ก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมบอกใครๆ
ด้วยอญู่เป็นเวลานาน
ทางจังหวัดจึงได้มอบให้ทางคณะอำเภอเอามามอบให้ท่านที่วัดละหารไร่เอง
ท่านจึงได้รับเป็น พระครูทิม อิสริโก
และได้รับเป็นพระคู่สวด
อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2497
ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งพระครูทิม
อิริโก
เลื่อนขั้นให้เป็นพระครูสัญญาบัตร
ท่านก็ไม่ยอมบอก ไม่อยากได้
ไม่ยินดียินร้ายกับใครอยู่เป็นเวลานาน
ญาติโยมที่วัดไม่มีใครทราบเรื่อง
จนทางเจ้าคณะอำเภอได้มีหนังสือส่งไปที่วัดจึงได้รับทราบกัน
นายสาย แก้วสว่าง ไวยาวัจกรวัด
จึงได้นำข่าวไปบอกแก่ชาวบ้านและกรรมการวัดละหารไร่ให้ทราบ
พร้อมกับจัดขบวนแห่มารับที่วัดเจ้าคณะจังหวัดโดยได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ทิม
มารับสัญญาบัตรพัดยศเป็น
"พระครูภาวนาภิรัต" เมื่อวันที่ 5
ธันวาคม พ.ศ. 2507
เมื่อหลวงปู่ทิม ได้เลื่อนขั้นเป็น
พระครูภาวนาภิรัตแล้ว
บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวบ้านก็นัดประชุมกันเพื่อจะจัดงานฉลองสมณศักดิ์
โดยนายสาย แก้วสว่าง
เป็นผู้ขออนุญาตต่อหลวงปู่ว่า
"หลวงปู่จงอนุญาตพวกเราเถิด
อย่าปิดความประสงค์ของพวกญาติโยมเลย
ได้โปรดให้พวกญาติโยมได้แสดงความยินดี
และแสดงความกตัญญูกตเวทีตอบสนองซึ่งคุณงามความดีของหลวงปู่ด้วยเถิด"
หลวงปู่ทิมท่านขัดไม่ได้จึงอนุญาต
นายสาย แก้วสว่าง
ในฐานะไวยาวัจกรและศิษย์ใกล้ชิดจึงได้นัดประชุมกรรมการและชาวบ้าน
ปรึกษากันว่าจะจัดฉลองสมณศักดิ์และเพื่อหารายได้สบทบทุนในการก่อสร้างกุฏิ
และบูรณะซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดในครั้งนี้
โดยจะขออนุญาตหลวงปู่ทิมเพื่อจัดทำเหรียญรูปเหมือนของท่าน
เอาไว้แจกแก่พวกญาติโยมและศิษย์ทั้งหลาย
เพื่อเป็นที่ระลึกในการร่วมกันทำบุญในงานวันฉลองสมณศักดิ์ของท่าน
เพราะใครๆ ก็ย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า
หลวงปู่ทิมเป็นพระที่น่าเคารพบูชาอย่างยิ่ง
ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมพระวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเป็นพระมักน้อยสมถะ
ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
ฉันอาหารเจเป็นประจำ ฉันมื้อเดียว
ไม่เคยฉันเพลเลย แม้แต่น้ำชา
หรือน้ำเปล่า ท่านก็ต้องฉันตามเวลา
เท่าที่สังเกตดูปรากฎว่า
ท่านจะฉันเช้าประมาณ 7 โมงเช้า
และฉันน้ำชาเวลา 4 โมงเย็น
ถ้าเลยเวลาแล้วหลวงปู่จะไม่ยอมฉันเป็นเด็ดขาด
แม้แต่น้ำชา ท่านฉันมื้อเดียวมาตลอด
50 ปีแล้ว
โดยที่ไม่มีอาหารพวกเนื้อหมู เป็ด ไก่
หรืออาหารคาวทุกชนิดเลย
แม้แต่น้ำปลาก็ไม่เคยฉัน
อาหารที่ท่านฉันก็เป็นพวกผัก ถั่ว
หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่น
เป็นประจำอยู่เป็นนิจตลอดมา
เนื้อหนังมังสาและผิวพรรณของท่านก็คงเป็นปกติอยู่ตามเดิม
พละกำลังของท่านก็แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะอำนาจบารมีของท่านที่เคยได้สร้างสมมาในชาติปางก่อน
จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและบริสุทธิ์ในธรรมวินัย
ดำรงชีวิตมาได้อย่างแข็งแรงและสมบูรณ์
หลวงปู่ทิม มีอายุได้ 96 ปี 72 พรรษา
ยังแข็งแรงสมบูรณ์
เดินไปไหนมาไหนได้สะดวก
ยังมองอะไรได้ชัดเจนดี
ฟันก็ไม่เคยหักแม้แต่ซี่เดียว
ถึงแม้ว่าอายุของท่านเกือบจะ 100
ปีแล้วก็ตาม
หลวงปู่ทิม ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่
18 ตุลาคม พ.ศ. 2518
นับได้ว่าท่านเป็นพระอาวุโสและมีพรรษามากกว่าพระเกจิอาจารย์รูปใดๆ
ทั้งหมดในจังหวัดระยองเลยทีเดียว
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลท่านได้สร้างไว้หลายรุ่น
และหลายพิมพ์
แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ
พระขุนแผนผงพรายกุมาร
มีทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก
พระชุดชินบัญชร
ทั้งพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
พระสงกัจจายน์ พระปิดตา
เหรียญเจริญพร
รวมไปถึงวัตถุมงคลรุ่น 8 รอบ
มีอีกหลายพิมพ์ เป็นต้น
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา