Rian Luang Poo Iam wat nang amulet
Thailand
BE 2467
Name of the image of Buddha: |
RIAN LUANG POO IAM |
Supporter of casting: |
Luang Poo Iam |
Location of Casting or
Finding: |
Wat NANG BANKOK |
Year of Casting: |
(B.E. 2467) |
Praise of the image of
Buddha: |
merciful Trading prosperity |
像 Luang Pu Iam 一樣的硬幣,第一個模型,Yantra 4,2424
年,這是第一次Luang Pu Iam Suwanasaro 或 Chao Khun Tao
Wat Nang的前住持您同意允許創建紀念幣。分發給有信仰的人,為修葺非常破舊的禮拜堂捐獻因子。因此,它被視為形狀像第一個模型的硬幣。它目前被視為前五名硬幣之一。具有高價值海灘很難找到出租。尤其是那些完好無損的硬幣。擁有它們的人會珍惜
龍普林邦坤天人,出生於拉瑪三世(拉瑪三世)統治時期的 1832 年,當時他被任命為僧人,綽號“Suwannasaro”。精通內省和普陀康他是一位修行嚴謹的僧人,深受民眾和廣大佛教徒的尊敬。後來他被任命為
Wat Nang Ratchaworawihan
的住持。並發展了寺廟,直到它興盛起來,為遠近佛教徒所熟知他的名聲在眾多弟子中廣為人知,最重要的是,國王陛下對他非常尊重。
1926年鑾寶蓮逝世,享年94歲72歲
海量內容
有金、銀、銅結構,還有許多特殊的創作,如製作銀地板、浮雕金鏤空護身符、銀地板、娜迦護身符和琺瑯金幣。
佛教人物
它是一枚葉形的錢幣,內嵌耳朵,錢幣的正反兩面雕刻著精美的花紋。硬幣邊緣的側面被鋸開。正面印刷只有一張版畫,在卡諾克的畫框內,有一張龍普依姆全身坐像的複製品。在獅子體式上桌子下方和手臂兩側,有一個Kranok圖案播放Unalom圖案。龍普的頭頂上有“佛陀”字。下面,辛哈座下,有他的名字的高棉字,即“Phanakosol
Thera”。硬幣周圍有一本泰文,上面寫著“Wan 6 Month 11 Year”
Marong Chatwat的“。印刷部分。背面分為2個印刷品。在圓圈中,由Phan側面的橢圓和數字7稱為,如果有4個點,則稱為“護身符四四點”,但如果有3點,則稱為“符四三點”,其餘的都一樣。寫字和定位符如下
“Yant Si”這個詞來自周圍的方形高棉字符。每端包含一個高棉字符,即“那摩佛”,獨特的“雅”將被另一層四個揚持框架包圍。錢幣中間是“Unalome”字樣,下面是“ma
a u”,是三寶的心臟。在相同的位置,但在其下方是字符“na ma pha tha”,它是四元素的核心。硬幣的邊緣指示了它的創造年份,即
1924 年。
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม รุ่นแรก
ยันต์สี่ ปี 2467 ถือเป็นครั้งแรกที่
หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร หรือ ท่านเจ้าคุณเฒ่า
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง
ท่านยอมอนุญาตให้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น
เพื่อแจกแก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยในการปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก
จึงนับเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก
ปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าเหรียญยอดนิยม
ที่มีค่านิยมสูง หาดูหาเช่ายากเอาการ
โดยเฉพาะเหรียญที่มีสภาพสมบูรณ์จริงๆ
ผู้มีไว้ต่างหวงแหน
หลวงปู่เอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2375
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่
3) เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ฉายา “สุวณฺณสโร”
ท่านใฝ่ศึกษาร่ำเรียนจนมีความแตกฉานทั้งทางด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคม
ท่านเป็นพระที่เคร่งในวัตรปฏิบัติและเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร
และได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล
ชื่อเสียงของท่านเลื่องลือขจรไกลมีศิษยานุศิษย์มากมาย
ที่สำคัญ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5
ทรงให้ความเคารพอย่างสูง หลวงปู่เอี่ยมมรณภาพในปี
พ.ศ. 2469 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 72
เนื้อหามวลสาร
มีการจัดสร้าง ทั้ง เนื้อทองคำ เงิน และ ทองแดง
อีกทั้งสร้างแบบพิเศษขึ้นอีกหลายรูปแบบ อาทิ
ทำพื้นเงิน องค์พระฉลุด้วยทองคำดุนนูน, พื้นเงิน
องค์พระฉลุเป็นนาค และ เหรียญทองคำลงยา เป็นต้น
พุทธลักษณะ
ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมา หูในตัว
ขอบเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลังแกะลวดลายกระหนกอย่างงดงาม
ด้านข้างของขอบเหรียญเป็นแบบเลื่อย พิมพ์ด้านหน้า
มีเพียงพิมพ์เดียว ภายในกรอบกนก
เป็นรูปจำลองหลวงปู่เอี่ยมนั่งเต็มองค์
บนอาสนะขาสิงห์
ใต้โต๊ะและข้างแขนทั้งสองข้างมีลายกระหนกเล่นลายอุณาโลม
เหนือศีรษะหลวงปู่มีอักขระ “พุทโธ”
ด้านล่างใต้อาสนะขาสิงห์มีอักขระขอมเป็นชื่อท่าน
คือ “ภาวนาโกศลเถระ”
รอบเหรียญมีหนังสือไทยอ่านได้ว่า “วัน ๖ เดือน ๑๑
ปีมะโรง จัตวาศก” ส่วนพิมพ์ด้านหลัง แบ่งเป็น 2
พิมพ์ ในวงการจะเรียกตามจุดไข่ปลา ที่ข้างตัว พ.พาน
และ เลข 7 ถ้ามี 4 จุด เรียก “ยันต์สี่ สี่จุด”
แต่ถ้ามี 3 จุด เรียก “ยันต์สี่ สามจุด”
นอกนั้นจะเหมือนกันหมดทั้งการเขียนอักขระและการวางตำแหน่งยันต์
ดังนี้
คำว่า “ยันต์สี่”
มาจากการล้อมรอบอักขระขอมเป็นรูปลักษณะสี่เหลี่ยม
โดยที่ปลายแต่ละด้านบรรจุอักขระขอมไว้ปลายละหนึ่งตัว
คือตัว “นะ โม พุท ธา” เฉพาะตัว “ยะ”
จะถูกล้อมด้วยกรอบยันต์สี่อีกชั้นหนึ่ง ข้างตัว ยะ
มี “นะ ปถมัง” อันเป็นหัวใจของยันต์
กลางเหรียญเป็นตัว “อุณาโลม” ใต้ลงมามีตัว “มะ อะ
อุ” ซึ่งเป็นหัวใจพระรัตนตรัย
ในตำแหน่งเดียวกันแต่อยู่ข้างล่างเป็นตัว “นะ มะ
พะ ทะ” อันเป็นหัวใจธาตุทั้งสี่
ขอบเหรียญมีการระบุปีสร้างคือ ปี “พ.ศ.๒๔๖๗”
|