เสือโลหะ รุ่นแรก
หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์แทน นครนายก พระครูวิมุตยาภรณ์
ท่านมีนามเดิมว่า เกิด
ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด ตำบลบางปลากด
ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ นครนายก
เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก เป็นลูกชายคนที่ 6
ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์ นามสกุล อินทร์ศิริ
ในจำนวนพี่น้อง 11 คน ผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 5 คน
เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน
ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ
แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ
17 ปี จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ
โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก
ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน
กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น
เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
เนื่องจากว่าท่านนั้นเป็นผู้ใฝ่ใจการเรียนรู้ประการหนึ่ง
และอีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อนข้างยาก?
ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้นก็หายากพอๆกับเดินหาเข็มบนผืนทรายใต้ทะเลทีเดียว
แม้บ้านโพธิ์แทนจะอยู่ห่างจากเมืองกรุงแค่มือเอื้อม
แต่การไปมาในยุค 70-80 ปีก่อน
คมนาคมที่ยังต้องพึ่งเรือและช้างม้าวัวควายเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ไกลปืนเที่ยงเอาการอยู่เหมือนกัน
การศึกษาในสายพระเวทย์หรือวิชาอาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า
ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จาก พระอาจารย์หม่น
ที่วัดโพธิ์แทน นั่นเอง
ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาบทออกไป
จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างให้ท่านไว้
ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่
5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
การสร้างวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังอย่างตะกรุดนั้น
หลวงพ่อเกิด
ว่าท่านได้สร้างมานานแล้วตั้งแต่พรรษาไม่มากนัก
แจกจ่ายใช้กันในแวดวงผู้ใกล้ชิดนานปีเข้าการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ
ม้วนเป็นตะกรุดออกไปเป็นจำนวนมากเข้า
ผู้คนนำไปใช้เกิดมีประสบการณ์ในทางคงกระพันชาตรีทนมีดอยู่ปืนขึ้นมา
เสียงลือเล่าอ้างจากปากสู่หูเล่าต่อๆ
กันไปจนเป็นที่ต้องการของญาติโยม
แม้สังขารจะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา
เนื่องจากขันธ์สังขารเข้าสู่วัยชราญาติโยมมาหาอยู่ไม่ขาดระยะ
การพักผ่อนน้อย ดูแล้วเหมือน หลวงพ่อเกิด
จะอ่อนเพลียไม่ใช่น้อยในแต่ละวัน
โดยเฉพาะการมาขอเช่าตะกรุดโทน ซึ่งมีประสบการณ์สูงในทางแคล้วัดโพวคลาด
คงกระพัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2557 เวลา 19.30
น.
ตอนนี้สรีระของท่านบรรจุโลงแก้วให้ลูกศิษย์ได้กราบไหว้ครับ
ประวัติท่านพระครูวิมุตยาภรณ์ (
หลวงพ่อเกิด ) วัดโพธิ์แทน จ.นครนายก ท่านมีนามเดิมว่า
เกิด ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด
ตำบลบางปลากด ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์
นครนายก เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก
เป็นลูกชายคนที่ 6 ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์
นามสกุล อินทร์ศิริ ในจำนวนพี่น้อง 11 คน
ผู้หญิง 6 คน
ผู้ชาย 5 คน
เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน
ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ
แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ 17 ปี
จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ
โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก
ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน
กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น
เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
อีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้
ให้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อน ข้างยาก
ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้น ก็หายากมาก
เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดประสิทธิเวช
โดยมีพระอนุกูลประชารัตน์ วัดประสิทธิเวช เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดไหล่
วัดประสิทธิเวช เป็นพระกรรมวาจา จารย์
และพระอาจารย์ประหยัด วัดอรุณฉายาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับนามฉายาว่า "ปริมุตโต"
หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาธรรมจน ถึงปี พ.ศ.2485 จนสอบได้ประโยคนักธรรมชั้นตรี
หลังจากนั้นท่านได้สมัครเข้าสอบประโยคนักธรรมชั้นโท
สนามหลวงอีก 2 ปี
แต่ไม่สามารถที่จะสอบผ่านได้ จึงไม่ได้สอบนักธรรมอีกเลย
เพราะในยุคนั้นคู่มือการเรียนการสอนครูบาอาจารย์ก็หายาก
และจะต้องไปเรียนไกล
พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทน
และ พ.ศ.2518 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
เมื่อวันที่5 ธันวาคม 2518 เป็นพระครูสัญญาบัตร
ในราชทินนามที่ พระครู วิมุตยาภรณ์
พ.ศ.2540 ท่านได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูชั้นเอก
และครองตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอองครักษ์อีกตำแหน่งหนึ่ง
การศึกษาในสาขาวิทยาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า
ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จากพระอาจารย์หม่น
ที่วัดโพธิ์แทน ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาออกไป
จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างๆ ให้ท่านไว้
ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่ 5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
ในขณะที่เริ่มทำตะกรุดแจกให้กับญาติโยมที่ใกล้ชิดกันนั้น
ท่านก็แสวงหาพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
ในขณะนั้นทราบว่า พระอาจารย์ปั่น วัดทำเลทอง
ซึ่งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี มีชื่อเสียงในเรื่องกรรมฐาน
หลวงพ่อเกิดจึงออกเดินทางจาก วัดโพธิ์แทนไปยังวัดทำเลทอง
เพื่อขอเรียนวิปัสสนากรรมฐาน
ซึ่งได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อปั่นขึ้นกรรมฐานทางพระ
ซึ่งในขณะนั้นท่านบอกว่าบวชมาได้ 6-7 พรรษาเท่านั้น
เมื่อได้ขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อปั่น วัดทำเลทอง
ท่านได้เดินทางกลับไปยังวัดโพธิ์แทน
จนได้รับความไว้วางใจจากทางคณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา
การสร้างวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังอย่างตะกรุดนั้น
หลวงพ่อเกิด
ว่าท่านได้สร้างมานานแล้วตั้งแต่พรรษาไม่มากนัก
แจกจ่ายใช้กันในแวดวงผู้ใกล้ชิดนานปีเข้าการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ
ม้วนเป็นตะกรุดออกไปเป็นจำนวนมากเข้า
ผู้คนนำไปใช้เกิดมีประสบการณ์ในทางคงกระพันชาตรีทนมีดอยู่ปืนขึ้นมา
เสียงลือเล่าอ้างจากปากสู่หูเล่าต่อๆ
กันไปจนเป็นที่ต้องการของญาติโยม
แม้สังขารจะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา
เนื่องจากขันธ์สังขารเข้าสู่วัยชราญาติโยมมาหาอยู่ไม่ขาดระยะ
การพักผ่อนน้อย ดูแล้วเหมือน หลวงพ่อเกิด
จะอ่อนเพลียไม่ใช่น้อยในแต่ละวัน
โดยเฉพาะการมาขอเช่าตะกรุดโทน
ซึ่งมีประสบการณ์สูงในทางแคล้วคลาด คงกระพัน