TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

名称 : 龙婆坤手印,脚印符布一套
#龙婆坤是泰国佛教近代三大圣僧之一,僧侣生涯中尤以招财及挡险法门见长而得名,特别是师傅的财富法门在近代招财助事业方面极为灵验,龙婆坤也因此被人誉为“活财神”。师傅在佛历2535至佛历2542这个阶段内曾制作了大量的佛牌圣物,部分是师傅自己寺庙主导法会的,也有部分是牌商或者善信要求特别制作的。这个时期是龙婆坤较为鼎盛的一个时期,制作的佛牌种类涵盖了招牌的自身像、药师佛、必打、善加财、佛祖等诸多圣物
庙名 : Wat Ban Rai
制牌师傅 :"活财神"龙婆坤 LUANG PHOR KHOON
原料 : 布本,颜料,颜泥
佛历 : Be 2517
รหัสสินค้า: 000389
ราคา: 0.00 บาท
ยี่ห้อ: หลวงพ่อคูณ 2517
รุ่น: หลวงพ่อคูณ 2517
 
รายละเอียด:

หลวงพ่อคูณ 2517องค์ที่3 องค์นี้พิเศษมีจารหลวงพ่อคูณ 

หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ 

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม หลวงพ่อคูณ ร่วมสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ขณะพำนักจำพรรษาอยู่วัดแจ้งนอก อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ไม่แพ้เหรียญรุ่นสร้างบารมี ปี ๒๕๑๙ ซึ่งออกในนามวัดบ้านไร่

อันดับที่ 5 : เหรียญหลวงพ่อคุณ ปี 2517
- เหรียญทองแดง ราคาเช่าอยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 บาท
- เหรียญนวะ ราคาเช่าอยู่ที่ประมาณ 150,000-200,000 บาท
เหรียญหลวงพ่อคูณปี 2517 เป็นเหรียญหลักยอดนิยม แต่ด้วยจำนวนสร้างไว้มาก จึงทำให้ราคาค่านิยมไม่แรงเหมือนเหรียญรุ่นสร้างบารมีปี 2519 ที่ท่านสร้างเนื้อทองแดงไว้เพียง 2,519 เหรียญ ตามปี พ.ศ.

ด้านบนเขียนว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” ส่วนด้านล่างเขียนว่า “วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา”
ด้านหลังบรรจุดวงชะตาของ หลวงพ่อคูณ ล้อมด้วยพระคาถาภาษาขอมว่า “สะนิทัสสะนะ อัปปะฏิคา” “มะอะอุ” เป็นพระคาถามหาอุด หยุดกระสุนปืนไม่ให้ออก หากออกมาจะทำให้ปากกระบอกปืนแตก จึงเชื่อว่า สามารถป้องกันภัยจากปืนได้

 

 

                ประเภทเหรียญหลักยอดนิยม เหรียญรุ่นแรก (วัดแจ้งนอก) ปี2512 เหรียญรุ่น 2 (วัดกุดตาลาด) ปี 2514 เหรียญ พ.ศ.2517 ออกวัดสระแก้ว เหรียญ พ.ศ.2518 ออกวัดบ้านไร่ เหรียญสร้างบารมี ปี 2519 (ภาพประกอบเรื่อง) เหรียญลูกเสือชาวบ้าน ปี 2520 เหรียญ ธนาคารศรีนคร ปี 2521 เหรียญพระมงคลมิ่งเมือง ปี 2521 เหรียญย่าโม ออกปี 2521 เหรียญสหกรณ์ด่านขุนทดปี 2530 (กระโดดตึก) เหรียญเลื่อนสมณะศักดิ์ปี 2535
ประเภทเหรียญทั่วไป วัดบ้านไร่เหรียญกลมบล็อคนอกหลัง12ราศี ปี 2536 เหรียญหลวงพ่อคูณ ที่ระลึกวันเกิด 71 ปี ปี2536 เหรียญทวีคูณ ปี 2537 เหรียญดีเยี่ยม ปี 2537 เหรียญมงคลบารมี๖รอบ ปี2537 เหรียญหลวงพ่อคูณ ที่ระลึกในหลวงเสด็จ ปี 2538 เหรียญคูณ๘๔ ออกปี 2550
ประเภทเหรียญ นอกวัดทั่วไป เหรียญพระพุทธชินราช ยอดนิยม พ.ศ. 2512 เหรียญสมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. 2516 เหรียญวัดใหม่พิเรนทร์ พ.ศ.2519 เหรียญวัดสิงหาราม พ.ศ.2520 เหรียญหล่อ วัดบ้านพุทรา ปี 2520 เหรียญผูกพัทธสีมา วัดบ้านบุ (สร้างบารมีเล็ก)ปี 2526  เหรียญวีรชนทหารพราน ปี 2526 เหรียญคณะผ้าป่านนทบุรี ปี2529 (ต้นแบบเหรียญกระโดดตึก) เหรียญฉีด ที่ระลึกฉลองซุ้มประตูวัดบ้านจั่น พ.ศ.2529  เหรียญที่ระลึกอาคารผู้ป่วยใน 2530 เหรียญคูณลาภเมตตาบารมี วัดเจริญพรตปี 2534 เหรียญเฮงคูณเฮง 8 ทิศ วัดเจริญพรต ปี 2536 เหรียญหลวงพ่อคูณ ที่ระลึกสร้างมณฑป เขายายหอมปี 2536 เหรียญยันต์ดวงมหาเศรษฐี วัดเจริญพรต ปี 2536 เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นที่ระลึกรูปเหมือนหลวงปู่ศุขปี2540 เหรียญวางศิลาฤกษ์ วัดป่าสันติวนาราม
ประเภทเหรียญใหม่ยอดนิยมอนาคตดีเหรียญเสมาวัดปรก ปี 2536 เหรียญรับเสด็จสุดยอดประสบการณ์ ปี 2536 เหรียญเจริญพรบน ปี 2536 เหรียญเจริญพรล่างปี 2536 เหรียญเจริญพรเต็มองค์ปี 2536 เหรียญรู้รักสามัคคี ปี 2536 เหรียญปาดตาล วัดใหม่อัมพวัน ปี 2536 เหรียญแจกทานแป๊ะขนมปังจัดสร้างปี 2536 เหรียญนั่งพานชนะมารปี2537
ประเภทรูปเหมือนลอยองค์รูปเหมือนลอยองค์ รุ่นสร้างบารมีปี 2519 รูปเหมือนลอยองค์เนื้อขันลงหิน  รูปเหมือนลอยองค์ปี2533 รูปเหมือนปั๊มรุ่น คุณพระเทพประทานพร เนื้อเงิน 2536  
รูปเหมือนปั๊มรุ่น คุณพระเทพประทานพร เนื้อนวะโลหะ 2536 รูปเหมือนปั๊มรุ่น คุณพระเทพประทานพร เนื้อทองแดงรมดำ 2536 รูปเหมือนปั๊มรุ่น คุณพระเทพประทานพร เนื้อทองเหลือง 2536 รูปเหมือนปั๊มรุ่นทวีคูณ 2537  รูปหล่อโบราณรุ่นผู้กำกับด่านขุนทดสร้าง รูปหล่อรุ่น เลขใต้ฐาน มงคล 38 ประการ
ประเภทพระกริ่ง พระชัยพระกริ่งญาณสังวร ปี 2519 พระชัยปริสุทฺโธ ปี 2519 พระกริ่งปริสุทฺโธ ปี 2519 พระกริ่งทหารพราน ปี 2526  พระกริ่ง 99 วัดใหม่อัมพร ปี 2526 พระกริ่งร่มเกล้าตะกรุดทองคำปี 2531  พระกริ่งญาณวิทยาคมเถร ปี2535  อนาคตพระกริ่งญาณมาแรงแน่ๆ  พระกริ่ง สก.ปี 2536 พระกริ่งทิ้งทวน ปี 2536 พระกริ่งมหาบารมีปี 2536 พระกริ่งรู้รักสามัคคีปี 2536 พระกริ่งแช่น้ำมนต์แซยิด 6รอบ ปี 2537 พระกริ่งเสาร์ ๕คูณพันล้าน ปี 2537 พระกริ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปวเรศญาณวิทยาคมเถระ ปี 2539
ประเภทพระปิดตาพระปิดตาคูณลาภ ปี 2517 พระปิดตาวิเศษ ปี 2517 พระปิดตาหลังสิวลี ปี2517  พระปิดตามหาอุตม์ สร้างบารมีปี 2519 พระปิดตาหัวจรวด เนื้อขันลงหิน พระปิดตาจัมโบ้ สอดตะกรุด ปี 29 พระปิดตาจัมโบ้ สอดตะกรุดเงิน ปี 2529 พระปิดตาพิมพ์กลาง ปี 2529 พระปิดตาไม้รากคูณฝังตะกรุด ปี 2529 พระปิดตายันต์ยุ่ง มหาลาโภคูณลาภ พ.ศ.2536 พระปิดตาหลังรูปเหมือนหลวงพ่อคูณ วัดปรก พ.ศ.2536  พระปิดตาปุ้มปุ้ย ญาณวิทยาคมคูณลาภ พ.ศ.2536  ชุดพระปิดตาวัดแจ้งนอก  พ.ศ. 2536
 

ประวัติ
ชาติภูมิ

หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นบุตรชายคนโตของบุญ (บิดา) และทองขาว (มารดา) ฉัตร์พลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คนคือ

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ)
นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์
นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
ทองขาวผู้เป็นมารดา เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่ง เวลาประมาณตี 3 เธอฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของเธอและกล่าวว่า "เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงามความดี มาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป" และเทพองค์นั้น ยังมอบดวงแก้วใสสะอาดสุกสว่าง ให้แก่เธอด้วย "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"

การศึกษา
บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง 3 คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณมีอายุราว 6-7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ, พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม นอกจากนี้ พระอาจารย์ทั้งสามยังมีเมตตา อบรมสั่งสอนวิชาคาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณมีความรู้ในวิชาไสยศาสตร์มาแต่บัดนั้น

อุปสมบท
หลวงพ่อคูณอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487[1] ปีวอก อุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า ปริสุทฺโธ หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คน และลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

หลวงพ่อคูณอยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้เป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ

เวลาล่วงเลยมานานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปาทานทั้งปวง

สู่มาตุภูมิ
หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศกัมพูชาสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตแดนทางจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำริให้ก่อสร้าง ถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2496 นอกจากนั้น หลวงพ่อคูณยังดำริให้สร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค ทั้งจัดสร้างโรงเรียนวัดบ้านไร่ เพื่อการศึกษาของเยาวชนละแวกนี้อีกด้วย

คำสอน
10 คำคม "กูให้มึง"
ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้
กูให้พวกมึงรู้จักพอเพียง
กูทำดีเขาจึงให้ของดีกูมา
กูไม่เคยยินดียินร้ายในลาภยศสรรเสริญ
กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจนเพราะได้สร้างทานบารมี ถ้ากูเกิดมาเป็นคนรวยป่านนี้ คำว่า บุญก็ไม่รู้จักกัน
เงินเป็นทาสกู กูไม่ยอมเป็นทาสเงิน
การทำตัวให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่นั้นง่าย แต่จะสร้างสมบุญให้มีบารมีนั้นเป็นเรื่องยาก...ต้องเป็นผู้ให้ด้วยธรรมอันบริสุทธิ์จริง
กูจะทำให้ชาวบ้าน เพื่อตอบแทนข้าวน้ำ ที่เขาให้กูกินทุกวัน
เกิดมาแล้ว...รักความสงบ ให้มีศีลธรรมไว้ประจำใจทุก ๆ คน โลกจะได้อยู่ชุ่มกินเย็น...
พระไม่ได้อยู่กับคนชั่ว แต่อยู่กับคนดี ให้นึกว่าพระมากับเราจะทำชั่วไม่ได้ อย่าทำตัวผิดศีลธรรม ผิดจารีตประเพณี โดยเฉพาะการทำผิดกฎหมายบ้านเมืองให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท"
"คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล"
"...คนค้าคนขายยาบ้าเอาไปขังคุกขื่อคา มันไม่จำ ยาบ้าเกิดที่ไหนดับที่นั่น ฆ่าคนขายยาบ้าบาปเท่ากับตบยุงตาย 1 ตัว มึงไม่ต้องไปกลัวมันหรอก อย่าให้มันอยู่รกแผ่นดิน ไม่ต้องให้มันไปติดคุก มันก็ไปนอนกินยาบ้าในคุกสบาย เดี๋ยวก็ออกทำเหมือนเดิม..."
สมณศักดิ์
12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิทยาคมเถร
10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชวิทยาคม อุดมกิจจานุกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพวิทยาคม อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
มรณภาพ
เมื่อเวลาประมาณ 05:45 น. ของวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พนักงานพยาบาลที่ดูแลหลวงพ่อคูณอยู่ที่วัดบ้านไร่ พบว่าหลวงพ่อมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัว จึงรีบแจ้งให้แพทย์จากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลด่านขุนทดมาวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งคณะแพทย์ตรวจประเมินว่า หลวงพ่อคูณหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น จึงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง อยู่เป็นเวลา 1 ชั่วโมง กระทั่งอาการทรงตัว จึงใส่เครื่องช่วยหายใจ พร้อมทั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ จากนั้นเมื่อเวลา 08:30 น. จึงรีบส่งเข้ารักษาต่อ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาโดยด่วน พบว่ามีลมรั่วเข้าภายในปอดฝั่งซ้าย และมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ จึงให้หลวงพ่อพักรักษาตัว ภายในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) โดยจัดคณะแพทย์และพยาบาล เฝ้าระวังดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสัญญาณชีพของหลวงพ่อยังไม่คงที่

จากนั้นคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมทำการวินิจฉัยและรักษา กับคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาด้วย ต่อมาเวลา 20:00 น. คณะแพทย์รายงานผลการตรวจรักษาหลวงพ่อว่า สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ และเครื่องช่วยหายใจ ขณะเดียวกัน มีเลือดออกในทางเดินอาหารจำนวนมาก ร่วมกับมีภาวะไตหยุดทำงาน เป็นผลให้ไม่มีปัสสาวะออกจากร่างกาย ทั้งนี้ภาวะผิดปกติที่แทรกซ้อนขึ้นทั้งหมด เกิดจากปอดและหัวใจ หยุดทำงานเป็นเวลานาน และรุ่งขึ้น (วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม) เมื่อเวลา 10:00 น. คณะแพทย์ผู้รักษารายงานว่า มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นผลให้มีเลือดออกในช่องทรวงอก จึงทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น คณะแพทย์จึงทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง สำหรับภาวะไตหยุดทำงาน คณะแพทย์ใช้เครื่องไตเทียมทำการฟอกเลือด

จนกระทั่งเวลา 11:45 นาฬิกา คณะแพทย์ออกประกาศแจ้งว่า พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) มีอาการโดยรวมทรุดลง จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพลงขณะทำการรักษา ภายในห้องอายุรกรรมผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71ซึ่งในการแถลงข่าวโดยคณะแพทย์ผู้รักษา เมื่อเวลา 12:15 น. น.พ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์อายุรกรรมหัวใจชำนาญการ ผู้รักษาประจำของหลวงพ่อคูณ ในสถานะหัวหน้าคณะแพทย์กล่าวว่า สาเหตุแห่งการมรณภาพ เนื่องจากการหายใจหยุดลง เพราะมีลมรั่วเข้าไปภายในปอด หรือที่เรียกว่าปอดแตก เป็นเหตุให้หัวใจหยุดเต้น เนื่องจากคณะแพทย์ต้องช่วยปั๊มหัวใจ เป็นเวลานานถึง 1 ชั่วโมง ทั้งที่หากสมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที ก็เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว หลังจากนำหลวงพ่อมายังโรงพยาบาล ก็พยายามช่วยกันเต็มที่ เมื่อเวลาประมาณ 05:40 น. ยังต้องปั๊มหัวใจเพิ่มถึงสองรอบ แต่ด้วยความที่หลวงพ่อ อยู่ในภาวะที่ไม่รับรู้ใดๆ นับแต่หมดสติที่วัดบ้านไร่แล้ว เมื่อการหายใจหยุดลง และหัวใจหยุดเต้นเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ วิกฤตลงตามไปด้วย คือเข้าสู่ภาวะสมองตายตั้งแต่แรก ต่อมาแพทย์พยายามยื้อหัวใจ และต่อมาปอด จนมาถึงไต แต่แล้วในที่สุด อวัยวะสำคัญก็ล้มเหลวลงทั้งหมด หลวงพ่อจึงถึงแก่มรณภาพดังกล่าว

จากนั้นมีการเปิดเผยพินัยกรรม ซึ่งหลวงพ่อคูณทำไว้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2543 มีใจความสำคัญระบุให้มอบสังขาร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่มรณภาพ แล้วให้ทางมหาวิทยาลัยมอบให้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้นำไปศึกษาค้นคว้า ตามวัตถุประสงค์ของภาควิชา สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และการสวดพระอภิธรรม ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีขึ้นที่คณะเป็นเวลา 7 วัน ส่วนการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้า ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดอย่างเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ ทั้งห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศ และพระราชพิธีอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีเช่นเดียวกับที่จัดให้แก่ อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (หรือวัดแห่งอื่น) และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำอัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ไปลอยที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยมีสักขีพยานประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขณะนั้น), ญาติ, ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ (ขณะนั้น) และนิติกรชำนาญการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามเป็นหลักฐาน

ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ร่วมกันประชุมและลงมติให้ดำเนินการ ตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวทุกประการ โดยไม่มีการนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านไร่เสียก่อน ดังที่มีลูกศิษย์จำนวนหนึ่งร้องขอแต่อย่างใด ซึ่งมีการเคลื่อนสังขารของหลวงพ่อคูณ ออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อเวลา 20:00 น. โดยไปถึงศาลา 25 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เพื่อบรรจุสังขารลงในโลงแก้ว จากนั้นรุ่งขึ้น (วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม) เวลาประมาณ 14:00 น. คณะลูกศิษย์พากันจัดริ้วกระบวน เพื่อเคลื่อนสังขารหลวงพ่อคูณ ไปยังศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นเอง เพื่อตั้งสังขารบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 7 วัน ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-23 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 06:00-22:00 น. สำหรับสาเหตุที่ต้องเคลื่อนสังขารอีกครั้ง เนื่องจากศูนย์ประชุมดังกล่าว เป็นสถานที่กว้างขวางสะดวกสบาย สามารถรองรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเดินทางมาสักการะสังขารอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พวงมาลา 12 พวง โดยมอบหมายให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งพระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเป็นกรณีพิเศษ


Luang Por Koon was borned on Thursday, 4th October BE2466. He was raised in a well off family. His grandfather was an influential person and very well-known in Nakon Raatchaseemah province. He also known to have Wichah (magic power), and many people were afraid of him.

When Luang Por Koon was 7 years old , his grandfather brought him to study Thai and Pali under Ah Jahn Cheum, Ah Jahn Saai and Pra Ah Jahn Lee in a temple near his house. Luang Por Koon was ordained as a monk at the age of 21 years old at Wat Thanon HakYai on 5th May BE2487. Pra Kru Wijahn Dtigit was the preceptor. Pra Kru Atigahn Torng Suk was his dhamma teacher. His monk's name is Pisuttoh.

Luang Por Koon stayed in Wat Thanon HakYai to study dhamma, in addition Luang Por Koon also learned under Luang Daeng Wat Nong Poh. He learned dhamma, sammahdti and Wichah (magic) from Luang Por Daeng.

Luang Por Koon was very diligent when studied under Luang Por Daeng. Seeing that Luang Por Koon was so keen in learning, Luang Por Daeng brought Luang Por Koon to meet Luang Por Kong who was the abbot of Wat HatYai. Then, Luang Por Koon became the disciple of Luang Por Kong.

Luang Por Kong was a Pra Tudong (forest monk) and brought Luang Por Koon to Tudong (forest dwelling). Besides dhamma and sammahdti, Luang Por Kong also taught Luang Por Koon Wichah (magic) on inserting takrut into a person's arm. After learning from Luang Por Kong for some time, Luang Por Koon went Tudong alone. He went as far as Laos and Cambodia. He stayed in the deep forests of Laos and Cambodia for many years.

During the rainy season, if Luang Por Koon was near town, he would stayed in any one of the temple near town to Khow Pansah (rainy season for a monk to stay indoors), if he was still in the forest, he would stay in the forest and continue his Tudong.

Luang Por Koon returned to Thailand after more than 10 years of Tudong, and reside at Wat Bahn Rai, Nakon Raatchaseemah. The first time, Luang Por Koon came to Wat Bahn Rai, the temple was in bad condtion. There was only a old Salah (shether), Bot (hall) and Guti (place where Buddha Statue will be placed).

Luang Por Koon seeing that was determined to re-build this temple. He approached the abbot of the temple at that time, and asked him for his help. The abbot told him that the temple did not have much fund (only 10,000 bahts) and asked Luang Por Koon how much money he needed to re-build the temple. Luang Por Koon replied that he needed 3 to 4 million bahts. When the abbot heard that, he said that he had no ability to help, though it was his duties. Luang Por Koon, then asked the villagers and his lay disciples to source for fund. Many people came forward and helped. The total fund collected was almost 2 million bahts and Wat Bahn Rai was re-built. Luang Por Koon was gradually gaining popularity in Nakon Raatchaseemah.

Whenever, people heard Luang Por Koon wanted to build a temple or a school, many people would come forward to help. Luang Por Koon had built many schools, temples and hospitals in Nakon Raachaseemah. The devotees who go to Wat Bahn Rai, be it rich or poor, Luang Por Koon will meet them personally and bless them. He would specially make time for the poorer devotees, because to Luang Por Koon, the poorer devotees need to earn a living, and thus their time is more precious comparing to the richer ones who had already have a stable livelihood.

Luang Por Koon chanted the most amulets in Thailand. Many temples and people would create the amulets and asked him to bless. He seldom rejected anyone when come to him for blessings. Luang Por Koon is very good in the Wichah of inserting takrut. He would personally insert the takrut under the arm of the devotees, these takrut are very well proven to protect a person from accidents, Metta and as well as Kong Grapan (immunity from weapons).Almost 20 years, Luang Por Koon had chanted and inserted takrut, but now Luang Por Koon had stopped due to poor health. However, he will still meet and bless the devotees who go to Wat Bahn Rai to pay respect to him.

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook