TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

 

 Lp Liew studied Pa Ya Tow knowledge from LP Yong,Wat Ban KongYai, Ratchaburi Province.He was very successful in this knowledge and recite incantations the first Pa Ya Tow in 1973. The Pa Ya Tow is very good in protection, metta, trading ,wealth and good luck. The Pa Ya Tow (King Turtle) became the symbol of LP Liew. He has been an expert of concentration of mindfulness in Buddhism way. Lp Liew was the guru monk who makes the Pa Ya Tow (King Turtle) amulets. LP Liew is also a very good friend of Lp Koon, Wat Banrai . LP Liew passed away on 4 September BE 2543 (yr 2000) at the age of 95 year old.

 หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง รุ่นสุขใจ  ปี 36

รหัสสินค้า: 000419

ราคา: 10,000.00 บาท
 
รายละเอียด:

 หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง รุ่นสุขใจ  ปี 36

คาถาบูชาพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำว่า "นะมะพะทะ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะอะอุอะ"

 
 
คาถาบูชาพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำว่า "นะมะพะทะ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะอะอุอะ"
 

ประวัติหลวงปู่หลิว  ปณฺณโก

วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ปฐมวัย 

หลวงปู่หลิว  ปณฺณโก   มีนามเดิมว่า   “หลิว”   นามสกุล   “แซ่ตั้ง”   (นามถาวร) บิดามีนามว่า   คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง   มารดามีนามว่า   คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง  ท่านเกิดเมื่อ  วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีมะเส็ง)    ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันทังหมด 9 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 4 คน (มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน มีน้องชาย 3 คน และน้องสาว 3 คน) ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว

ครอบครัวของหลวงปู่หลิวอยู่ในชนบท ที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพหลักคือ ทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิงทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกันแต่หลวงปู่หลิวกลับมองเห็นความยากลำบากของบิดา มารดา และพี่ ๆ จึงได้ช่วยงานบิดา มารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวเป็นที่รักใคร่ของบิดา มารดา ตลอดจนพี่ ๆ และน้อง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่ ทำนา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านทั่วไป

ในบางครั้งหลวงปู่หลิว ท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกลเพื่อไปทำงานบางครั้งไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่หลิวมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย (เพราะหลวงปู่หลิวท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวคือ ท่านมี “ความจำ” เป็นเลิศ) นอกจากท่านจะเป็นช่างไม้ฝีมือดีแล้วท่านยังเป็นหมอยาประจำหมู่บ้านหนองอ้อ, ทุ่งเจริญ, บ้านเก่า และละแวกใกล้เคียงไปโดยปริยายใครมาขอตัวยากับท่าน ท่านก็ให้ไปทุกคน

ครอบครัวโดนรังแก 

ในอดีตนั้นเขตภาคกลางโดยเฉพาะ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กล่าวกันว่าเป็นแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายโด่งดังมากมาย คนหนุ่มทั้งหลายกลุ่ม หลายถิ่นต่างตั้งกล่มเป็นโจรผู้ร้ายปล้นจี้สร้างอำนาจอิทธิพลในพื้นที่ของตน คนบางกลุ่มก็ตั้งกลุ่มเพื่อปกป้องคุ้มครองถิ่นของตน ครอบครัวหลวงปู่หลิวเองก็ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มโจร ท่านได้พูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า   “โยมพ่อโยมแม่และพี่ชายเป็นคนซื่อ ใจรมาขโมยวัว ขโมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้พวกโจรได้ใจทำให้วัดควายและข้าวของที่พยายามหามาด้วยความยากลำบากต้องสูญเสียไป อาตมาจึงเจ็บใจและแค้นใจ เป็นที่สุด แต่ทำอะไรมันไม่ได้” 

ในบางครั้งโจรที่มาปล้นวัวควาย คุณพ่อเต่งและพี่ชายคนโดไม่เคยกล้า ที่จะเข้าขัดขวาง ขอเพียงแต่อย่าทำร้ายบุตรหลานก็เป็นพอ   “ข้าวของเป็นของนอกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้” 

หลวงปู่หลิวในช่วงนั้นก็เป็นวัยรุ่นเลือดร้อน ก็ทวีความโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดหาวิธีปราบโจรผู้ร้าย อย่างเด็ดขาดให้ได้ อันเป็นการช่วยตนเอง และชาวบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายต่อไป

เข้าป่าเรียนอาคม

หลวงปู่หลิว ได้ชวนหลานชายผู้เป็นลูกของพี่ชาย และหลานชายผู้เป็นลูกของพี่สาว หนีออกจากบ้านไปแสวงหาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ในดงกระเหรี่ยง เพื่อขอเรียนวิชาไสยศาสตร์ เพื่อนำมาปราบโจรผู้ร้าย ที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านแทบทุกวัน ซึ่งหลานชายทั้งสองก็เห็นด้วย  บนเส้นทางอันเป็นป่าเขาดงดิบด้านชายแดนไทย-พม่า มีป่าไม้รกทึบ อากาศหนาวเย็นด้วยจิตใจอันแน่วแน่ เด็กหนุ่มทั้ง 3 จึงรีบเร่งเดินทางให้ถึงจุดหมายโดยเร็วที่สุด

ป่าดงดิบสมัยก่อนนอกจากจะรกทึบแล้ว ยังเต็มไปด้วยไข่ป่าอันน่าสะพรึงกลัว ในระหว่างการเดินทางหลานชายผู้ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายเกิดป่วยหนักด้วยโรคไข้ป่า ยารักษาก็ไม่มีเพราะไม่ได้เตรียมมา หลวงปู่หลิวจึงหยุดพักการเดินทางเพื่อรักษาไข้ป่าไปตามมีตามเกิด หลานชายทนความหนาวเหน็บและพิษของไข้ป่าไม่ไหว จึงได้สิ้นใจตายไปต่อหน้าต่อตาของหลวงปู่หลิวผู้เป็นอา และหลานอีกคน

ความรู้สึกในเวลานั้นทำให้พาลโกรธโจรผู้ร้ายมากยิ่งขึ้น ทางหลานชายเมื่อเห็นลูกพี่ลูกน้องของตนต้องมาตายจากไปจึงเกิดขวัญเสียไม่อยากเดินทางต่อไปตามที่ตั้งปณิธานเอาไว้ เพราะเกรงว่าหนทางข้างหน้าไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก จึงเอ่ยปากชวนน้าชายกลับบ้าน แต่หลวงปู่หลิวได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่กลับแน่นอน ถ้าไม่สำเร็จวิชา

หลังจากนั้นหลวงปู่หลิว ได้แยกทางกันกับหลานชายมุ่งหน้าสู่ดินแดนกระเหรี่ยง ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ เมื่อไปถึงมีชาวกระเหรี่ยงที่พอพูดไทยได้บ้างก็เข้ามาสอบถาม หลวงปู่หลิวจึงได้บอก ความต้องการให้เขาฟัง

หลวงปู่หลิวโชคดีได้พบอาจารย์หม่งจอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยง จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชาอาคมด้วย ท่านใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านั้นนานร่วม 4 เดือน  ถึงจะได้เริ่มเรียนวิชากับอาจารย์หม่ง อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงให้ความเมตตาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้อย่างเต็มใจ ระหว่างอยู่กับอาจารย์ หลวงปู่หลิวมีความมานะบากบั่นช่วยงานทุกอย่าง จนเป็นที่รักใคร่ของทุกคน สำหรับวิชาที่ได้ร่ำเรียนในขณะนั้นคือวิชาฆ่าคนโดยเฉพาะ เพื่อไปแก้แค้นโจรที่ลักวัวควาย หลวงปู่หลิวอยู่กับอาจารย์ชาวกระเหรี่ยงได้ 3 ปี กว่าจนถึงวัย 21 ปี ก็ศึกษาวิชาอาคมได้อย่างลึกซึ้ง ก่อนจะเดินทางกลับผู้เป็นอาจารย์ได้กำชับอย่างเด็ดขาดว่าวิชาอาคมต่าง ๆ ที่ประสิทธิ์ประสาทให้ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกผู้อื่นทำรังแกทำร้ายอย่างถึงที่สุด เพราะมันเป็นวิชาฆ่าคน ท่านก็รับคำและเดินทางกลับบ้านเกิดด้วยความมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาให้หมู่บ้านของตนจึงเดินทางกลับบ้าน เมื่อได้พบบิดา มารดาแล้ว หลวงปู่หลิวได้ลาท่านไปท่องเที่ยวอีกครั้ง

ใช้ควายธนูปราบโจรขโมยวัว 

ในฤดูฝนปีถัดมา หลวงปู่หลิวได้กลับจากท่องเที่ยว มาช่วยบิดามารดาทำไร่นาที่บ้านเกิดอีกครั้ง วัวควายที่เคยเลี้ยงอย่างระมัดระวัง ก็ปล่อยให้มันกินหญ้าตามสบาย  เขาทำมาหากินได้ไม่กี่เดือนมีเพื่อนฝูงที่สนิทคนหนึ่งแจ้งข่าวให้ทราบว่า โจรก๊กหนึ่งจะเข้าปล้นวัวควายเขาในเร็ว ๆ นี้  หนุ่มหลิวก็เตรียมรับมือทันที   แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเตรียมตัวเช่นไร่   ทุกวันเขาทำตัวปกติมิได้อาทรร้อนใจกับเรื่องที่โจรจะเข้าปล้นกลางวันทำไร่ เลี้ยงควายไปตามเรื่อง ตกเย็นค่ำมืดกินข้าวกินปลาหากไม่มีเพื่อนแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเขาก็เข้านอนแต่หัววัน

อีกหลายสิบวันต่อมา  คืนหนึ่งดึกสงัดเป็นวันข้างแรม ท้องทุ่งอันเวิ้งว้างมืดสนิทไร้แสงเดือน ท้องฟ้ามีแต่หมู่ดาวกลาดเกลื่นระยิบระยับไปทั่ว แต่ที่บ้านของหนุ่มหลิว มันเงียบแต่ไม่สงัด ร่างตะคุ่มหลายสายพากันเคลื่อนไหวเข้าใกล้เรือนที่มืดมืดของเขา ร่างเหล่านั้นมุ่งไปที่คอกวัวควายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคุมเชิงระวังภัยให้กับเพื่อน

ทันใดนั้น กลุ่มโจรที่เข้าไปเปิดคอกถึงกับตะโกนร้องอย่างตกใจ ระคนด้วยความหวาดกลัวแล้วแตกกระเจิงออกคนละทิศละทาง เสียงโวยวายร้องบอกให้เพื่อนหลบหนีดังขึ้นสลับร้องโหยหวนเจ็บปวด

เช้าตรู่ของวันใหม่ ท่านเอาวัวควายออกเลี้ยงตามปกติที่ไร่ แม้ว่ารอบบ้านจะมีร่องรอยเท้าคนย่ำอย่าสับสนและมีรอยเลือดกองเป็นหย่อม ๆ และกระเซ็นไปทั่ว เขาไม่ยี่หระวางเฉย  เพียงแต่ก้มลงหยิบสิ่งหนึ่งที่หน้าคอกสัตว์ มันคือ   รูปปั้นควายดินเหนียว   ซึ่งเลอะไปด้วยเลือดเต็มเขาและหัวของมัน  หรือว่าสิ่งนี้ คือ  ”ควายธนู”   ทำการขับไล่เหล่าโจรร้าย ไม่มีใครรู้นอกจากหนุ่มหลิวเพียงคนเดียว

ข่าวการใช้ควายธนุขับไล่โจรก๊กนั้นแพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้านและลือกันต่าง ๆ นานาว่าท่านเป็นผู้มีของดี ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีมิจฉาชีพคิดอยากลองของ ด้วยการซุ้มรุมทำร้ายด้วยอาวุธนานาชนิด แต่มีด ปืนผาหน้าไม้ที่รุมกระหน่ำไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่น้อย แถมการที่ท่านสู้แบบไม่ถอยทำให้คนร้ายวิ่งหนีกันหัวซุกหัวซุน จากชัยชนะหลายครั้ง หลายหนต่อการรุกรานในรูปแบบต่างๆ สร้างความพอใจให้กับคนในหมู่บ้านบางรายถึงกับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ แต่ก็มีชาวบ้านบางพวกกับมองว่าท่านเป็นนักเลงหัวไม้

ในที่สุดหลวงปู่หลิวก็ปราบโจรลงอย่างราบคาบ จนโจรหลายคนต้องมากราบขออโหสิ และบางคนก็มาขอเป็นศิษย์  นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องหวาดผวาโจรผู้ร้าย บรรดาโจรผู้ร้ายหลายคนก็ได้กลับตัวกลับใจ ทำมาหากินด้วยความสุจริต อย่างชาวบ้านทั่วไป หลวงปู่หลิวได้กล่าวถึงพวกโจรขโมยวัวควายที่พ่ายแพ้ตนว่า   “คนเราถ้าอยากจะชนะ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกล ก็ต้องเอาด้วยคาถา แต่เมื่อเขายอมรับผิด ยอมกลับตัวกลับใจ เราก็ควรให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิดเป็นการให้ที่ประเสริฐและได้กุศลด้วย” 

ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย

ภายหลังที่หลวงปู่หลิวได้ปราบโจรเป็นที่เรียบร้อย และชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขแล้ว หลวงปู่หลิวก็ได้กลับมาทำไร่ ทำนาตามปกติ ตอนนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง เผาถ่านท่านก็เคยทำ เก็บเห็นเผาะขายก็เคย รับจ้างทำไร่ก็เคย ตอนที่ท่านทำไร่นี่แหละ ท่านไปเจอแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อ ”นางหยด”  เกิดชอบพอกันขึ้นมา ก็เลยอยู่กินด้วยกัน และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งคือ   นายกาย  นามถาวร  ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่มีความรักเอื้ออาทรต่อกัน

สู่โลกธรรม 

เมื่อหลวงปู่หลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยด ระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสแห่งความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ราคะต่าง ๆ หลวงปู่หลิวเริ่มจับตามองความเป็นไปต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังคมทีละน้อย ๆ และความรู้สึกนั้นได้เพิ่มพูนมากขึ้น

จนกระทั่งหลวงปู่หลิวมีอายุได้ 27 ปี ได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีด ในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันตามสภาวะแห่งกิเลสตัณหา ราคะของชีวิตฆราวาส ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของตน คือรักความสงบชอบความสันโดษเรียบง่าย จิตใจของหลวงปู่เริ่มเองเอียงไปทางธรรมะธัมโม อยากจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา   หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่ออกบวชแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ท่านทั้งสองก็เห็นดีเห็นงาม ด้วยความปลาบปลื้มเป็นล้นด้น ที่ลูกชายจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

หลวงปู่หลิว ได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ประมาณเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. 2475 ปีวอก) โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า   “ปณฺณโก”  อ่านว่า ปัน-นะ-โก 

เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่หลิว  ปณฺณโก ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไปทั้งยังความสะดวกสบายกว่าที่อื่น ๆ  เพราะมีญาติพี่น้องให้ความอุปัฏฐากอย่างใกล้ชิด

ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่หลิวได้มีโอกาสใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่งซึ่งใหญ่มากจนสำเร็จ

ต่อมาอีก 4 เดือนท่านได้ช่วยปรับพื้นศาลาเสร็จอีก และยังได้สร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) อีก 50 ชุด เพื่อถวายให้กับวัดหนองอ้อ จึงนับได้ว่าหลวงปู่หลิวไม่เคยหยุดนิ่ง ท่านมีพรสวรรค์ทางเชิงช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ และญาติโยม ชาวบ้าน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภายหลังจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของหลวงปู่หลิวทั้งสิ้น

 

 

 
THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook