TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

หลวงพ่อแช่ม -หลวงพ่อช่วง วัดฉลอง เนื้อทองแดงลมดำ ปี12
รหัสสินค้า: 000442
ราคา: 30,000.00 บาท
 
รายละเอียด:

หลวงพ่อแช่ม -หลวงพ่อช่วง วัดฉลอง  เนื้อทองแดงลมดำ  ปี12
1.ประวัติ หลวงพ่อแช่ม วัดท่าฉลอง จ.ภูเก็ต       
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม สังฆปาโมกข์) วัดไชยธาราราม (ฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต


คำขวัญเมืองภูเก็ต
"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"
         ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่คนทั่วโลกรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี เป็นเกาะใหญ่เกาะหนึ่ง ที่มีพื้นที่ของเกาะประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศน่าเที่ยวน่าพักผ่อนหย่อนใจมีทิวทัศน์อันสวยงามเกินกว่าคำบรรยาย ไม่ว่าจะมองไปบนบก หรือในท้องทะเล แม้แต่เกาะต่างๆ แล้วเหมือนจะทำให้เรามีชีวิตชีวายืนยาวออกไปอีกสักร้อยปี จังหวัดนี้ดีพร้อม สมกับคำขวัญที่ว่า “ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม” ไม่มีผิด
         สภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื่น ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา ทั้งปีมี 2 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ช่วงที่มีอากาศดีที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีท้องฟ้าแจ่มใส ภาษาของท้องถิ่นจังหวัดนี้เป็นภาษาปักษ์ใต้ ที่มีเอกลักษณะของตนเอง อาชีพของพลเมืองมีทั้งด้านการเกษตรและสวนยางพารา การอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน การทำปลาบ่น ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมาก มีโรงแรมที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน งานประเพณี ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร จัดขึ้นทุกปี ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก
         ภูเก็ตมีอะไรดี? ภูเก็ตก็มีพระคณาจารย์ดี คือหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พระคุณท่านเป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ใครมาเที่ยวเมืองภูเก็ตแล้วไม่ได้ไปสักการบูชาหลวงพ่อแช่ม ก็เหมือนกับไม่ได้ไปเยือนภูเก็ต เขาว่ากันอย่างนั้น  หลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง ภูเก็ต ถึงแม้พระคุณท่านจะได้มรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชื่อเสียงและเกียรติคุณของพระคุณท่านยังตรึงตราตรึงใจอยู่ในความทรงจำของชาวภูเก็ตและชาวไทยทั่วทุกภาค แม้แต่ประชาชนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงยังให้ความเคารพเลื่อมใส ศรัทธายิ่ง ดุจดังเทพเจ้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์นานัปการเมื่อครั้งพระคุณท่านมีชีวิตอยู่มีผู้ศรัทธาและเลื่อมใสท่านมาก ถึงขนาดรุมกันปิดทองที่ตัวท่านจนแลดูเหลืองอร่ามไปทั้งร่าง เฉกเช่นเดียวกับปิดทองพระพุทธรูปบูชา นับเป็นความแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง
ประวัติวัดฉลอง
         "วัดฉลอง"เป็นวัดที่มีมาแต่ก่อนเก่า จึงไม่มีท่านผู้ใดทราบประวัติความเป็นมาได้ละเอียดนัก วัดฉลองนี้ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาและป่าละเมาะ
         ทางด้านเหนือของเกาะภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7-8 กิโลเมตร ตามหลักฐานที่ปรากฎมีศาลาเก่าแก่อยู่หลังหนึ่งทางด้านทิศตะวันออก(ของวัดในปัจจุบันนี้) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระปฎิมา จากสภาพขององค์ท่าน นับว่า...เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาช้านานแล้ว จนไม่อาจคำนวณอายุที่แน่นอนได้ชาวบ้านฉลองและคนทั่วไปเรียกท่านว่า "พ่อท่านเจ้าวัด" ด้านซ้ายขององค์ท่านมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า "ตาขี้เหล็ก" ส่วนด้านขวาของ "พ่อท่านเจ้าวัด" นั้น มีรูปหล่อเป็นยักษ์ถือกระบองแลดูน่ากลัว ชาวบ้านเรียกว่า "นนทรีย์" รูปหล่อทั้ง 3 องค์นี้ ท่านศักดิ์สิทธิ์นัก จนเป็นที่โจษขานกันมานานแล้ว
         เจ้าอาวาสวัดฉลององค์แรกท่านเป็นพระเถระองค์ใดนั้น ในประวัติได้บันทึกเอาไว้ ก็เลยไม่ทราบนามท่านเท่าที่ทราบมี "พ่อท่านเฒ่า" ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลององค์ก่อน "หลวงพ่อแช่ม" ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่เลื่องลือ เมื่อ"ท่านพ่อเฒ่า" ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราอาพาธ "หลวงพ่อแช่ม" ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจาก "พ่อท่านเฒ่า"
         ต่อมา....ท่านได้รับพระราชทานเลื่อมสมศักดิ์ว่าที่เป็น "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี" ตำแหน่งสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดฉลอง" เสียใหม่เป็น "วัดไชยธาราราม" แต่ประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกว่า "วัดฉลอง" เพราะเป็นชื่อที่คุ้นหูมาก่อน

ชาติกำเนิด-ประวัติย่อ
        
         "หลวงพ่อแช่ม" วัดฉลอง ภูเก็ต ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2370 ในรัชสมัยของ"พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"(รัชกาลที่ 3) (นามโยมบิดา-มารดา) ไม่ปรากฏในประวัติแม้แต่ "หลวงพ่อช่วง" วัดท่าฉลอง ศิษย์เอกของท่านก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้)

หลวงพ่อแช่ม ชาตะ พ.ศ.2370 มรณภาพ พ.ศ.2451
   
         พ่อแม่ส่งให้อยู่ ณ วัดฉลอง เป็นศิษย์ของพ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และ ต่อมาเมื่ออายุถึงที่จะบวชเป็นพระภิกษุก็บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิปัสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มปรากฏชัดในคราวที่หลวงพ่อแช่มเป็นหัวหน้าปราบอั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไปนี้

ปราบอั้งยี่

         ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธรุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือนหมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้
         ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร
         เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนีจะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกันคนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวมพวกกันอยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่
         พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้ายชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง ข่าวชนะศึกครั้งแรกของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีกก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพกศีรษะเป็นเครื่องหมายบอกต่อต้านพวกอั้งยี่
          พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็นจำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อแช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย
         รบกันจนเที่ยงพวกอั้งยี่ยกธงขอพักรบ ถอยไปพักกันใต้ร่มไม้หุงหาอาหาร ต้มข้าวต้มกินกัน ใครมีฝิ่นก็เอาฝิ่นออกมาสูบ อิ่มหนำสำราญแล้วก็นอนพักผ่อนชาวบ้านแอบดูอยู่ในกำแพงโบสถ์ เห็นได้โอกาสในขณะที่พวกอั้งยี่เผลอก็ออกไปโจมตีบ้าง พวกอั้งยี่ไม่ทันรู้ตัวก็ล้มตายและแตกพ่ายไป
         หัวหน้าอั้งยี่ประกาศให้สินบน ใครสามารถจับตัวหลวงพ่อแช่มวัดฉลองไปมอบตัวให้จะให้เงินถึง 5,000 เหรียญ เล่าลือกันทั่วไปในวงการอั้งยี่ว่า คนไทยชาวบ้านฉลองซึ่งได้รับผ้าประเจียดของหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะ ล้วนแต่เป็นยักษ์มารคงทนต่ออาวุธ ไม่สามารถทำร้ายได้ ยกทัพมาตีกี่ครั้งๆ ก็ถูกตีโต้กลับไป ในทุกครั้ง จนต้องเจรจาขอหย่าศึกยอมแพ้แก่ชาวบ้านศิษย์หลวงพ่อแช่มโดยไม่มีเงื่อนไข
         คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง
         หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสุงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น
ในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม

บารมีหลวงพ่อแช่ม

         จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามหลวงพ่อแช่มไปในครั้งนั้นแจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5 ป่วยเป็นอัมพาต หลวงพ่อแช่มได้ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฏว่าอาการป่วยหายลงโดยเร็วสามารถลุกนั่งได้ อนึ่ง การเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับกรุงเทพมหานคร ผ่านวัดๆ หนึ่งในจังหวัดชุมพร หลวงพ่อแช่มและคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้น นิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มเข้าไปพักในวัด แต่ หลวงพ่อเกรงใจและแจ้งว่าตั้งใจจะพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้านในละแวกนั้นบอกว่า การพักที่ศาลาหน้าวัดอันตรายอาจเกิดพวกโจร จะมาลักเอาสิ่งของของหลวงพ่อแช่มและคณะไปหมด หลวงพ่อแช่มตอบว่าเมื่อมันเอาไปได้ มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านอ้อนวอน หลวงพ่อแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม  เล่าว่า ตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม 6 คน เข้ามาล้อมศาลาไว้ ขณะคนอื่นๆ หลับหมดแล้ว คงเหลือแต่หลวงพ่อแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึง หลวงพ่อแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปิ๊บใส่สาแหรก พวกโจรพอได้ของก็พากันขนเอาไป
         รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะไปตามพวกโจร หลวงพ่อแช่มก็ห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย กำนันนายบ้านก็เข้าคุมตัว หัวหน้าโจรปวดท้องจุดเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่าระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตนขโมยไปนั้น คล้ายมีเสียงบอกว่า ให้ส่งของกลับไปเสีย มิฉะนั้น จะเกิดอาเพศ พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของกลับมาคืนหลวงพ่อแช่มสั่งสอนว่า ต่อไปขอให้เลิกเป็นโจรอาการปวดก็หาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมืองชุมพร แต่หลวงพ่อแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้นที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ชาวจังหวัดปีนัง เป็นต้นต่างให้ความคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องหลวงพ่อแช่มเป็นเสมือนสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วย
         การปราบอั้งยี่ในครั้งนั้น เมื่อพวกอั้งยี่แพ้ศึกแล้วก็หันมาเลื่อมใสให้ความเคารพนับถือต่อหลวงพ่อแช่มเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอื่นก็มีความเคารพเลื่อมใสต่อหลวงพ่อแช่ม เกิดเหตุอาเพศต่างๆในครัวเรือนต่างก็บนบานหลวงพ่อแช่มให้ช่วยขจัดปัดเป่าให้
         ชาวเรือพวกหนึ่งลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่น และพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่มต่างก็บนบานสิ่งศักดิ์ต่างๆ ให้คลื่นลมสงบ แต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงหลวงพ่อแช่มได้ ก็บนหลวงพ่อแช่มว่าขอให้หลวงพ่อแช่มบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านจะติดทองที่ตัวหลวงพ่อแช่ม คลื่นลมก็สงบ มาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาหลวงพ่อแช่ม เล่าให้หลวงพ่อแช่มทราบและขอปิดทองที่ตัวท่าน หลวงพ่อแช่มบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดทองที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็บอกว่าถ้าหากหลวงพ่อไม่ให้ปิดหากแรงบนทำให้เกิดอาเพศอีก จะแก้อย่างไร ในที่สุดหลวงพ่อแช่มก็จำต้องยอมให้ชาวบ้านปิดทองที่ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขนและเท้า ชาวบ้านอื่นๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมาก พอหลวงพ่อแช่มออกจากวัดไปทำธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลวรอคอยปิดที่หน้าแขนของหลวงพ่อแทบทุกบ้านเรือน จนถือเป็นธรรมเนียม
         เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำเปลวปิดอยู่ที่หน้าแข้งของหลวงพ่อแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่
         แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของไม้เท้ามีดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เป็นคนชอบพูดอะไรแผลงๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุดเสียดอย่างแรง กินยาอะไรก็ไม่ทุเลา จึงบนหลวงพ่อแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทองไปปิดที่ของลับของหลวงพ่อแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุกๆ ต่อมาอาการปวดท้องเกิดขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบนจึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็กไปหาหลวงพ่อแช่มหลวงพ่อแช่มกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้
         พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บน ในที่สุดหลวงพ่อแช่มคิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยเอาไม้เท้านั่งทับสอดเข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า กลับบ้านอาการปวดท้องจุดเสียดก็หายไป ไม้เท้านั่งทับของหลวงพ่อแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่ และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็กๆ ที่เป็นไส้เลื่อน เป็นฝีเป็นปาน อาการเหล่านั้นก็หายไปหรือชงักการลุกลามต่อไป เป็นที่น่าประหลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปี พ.ศ.2451

         เมื่อมรณภาพ บรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของหลวงพ่อแช่มปรากฏว่าหลวงพ่อแช่มมีเงินเหลือเพียง 50 เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวบ้านปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างก็นำเงิน เอาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร มีคนมาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของหลวงพ่อแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬารที่สุดในภาคใต้ บารมีของหลวงพ่อแช่มก็มีมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
 
2.ประวัติพระครูครุกิจจานุการ (ช่วง กิสลัย) วัดฉลอง ภูเก็ต  พระครูครุกิจจานุการ (ช่วง กิสลัย) วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต
พระครูครุกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อช่วง เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พ่อแม่ของท่านเป็นชาวตำบลฉลอง นำมาฝากให้เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อแช่มมาตั้งแต่เด็ก ท่านจึงเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแช่ม ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ ให้จนหมดสิ้น ท่านมีความเชี่ยวชาญทางการเชื่อมและต่อกระดูกเป็นพิเศษ จากการเสียสละและเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้ชาวบ้านให้ความเคารพนับถืออย่างสูง
หลังจากหลวงพ่อแช่ม มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ หลวงพ่อช่วงจึงได้รับฉันทานุมัติแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทน
การจัดสร้างวัตถุมงคลในสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ท่านและอาจารย์เพรา พุทธสโร แห่งวัดกลาง ร่วมกับ ศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และพระอาจารย์เพรา รวมทั้งได้จัดทำเหรียญรูปไข่รุ่นแรกขึ้น โดยจัดสร้างที่วัด มงคลนิมิตร (วัดกลาง)
หลวงพ่อช่วง มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่อท่านอายุ ๗๐ ปี รวมครองตำแหน่งเจ้าอาวาส ๓๖ พรรษา
26 ธันวาคม 2547.....แผ่นดินไหว ณ ท้องทะเล อันดามัน เกิดคลื่นยักษ์  (Tsunami) โหมเข้าบริเวณชายฝั่ง ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล.....และ ภูเก็ตถือว่าเป็นจังหวัดหน้าด่านภัยพิบัติในครั้งนั้นสร้างความเสียหายและเดือดร้อนถึง 326 หมู่บ้าน 54,672 คน ทั้งนี้ ไม่ได้ นับรวมที่เสียชีวิต 5,374 คนกับสูญหายไปอีก 3,132 คนและถ้าตีความเสียหายมูลค่าเป็นเงิน 17,508.67 ล้านบาท โดยไม่นับรวมสิ่งสาธารณประโยชน์ (ราวๆ 1,102.06 ล้านบาท) กับ สิ่งแวดล้อมสลายซึ่งประเมินค่ามิได้ช่วงแห่งคาบเวลาที่เกิดเหตุ....ชาวภูเก็ตส่วนหนึ่งพากันหลบภัยแบบหนีตายไปแน่นขนัดที่วัดฉลอง  หรือวัดไชยธาราม  ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่นว่า บนผืนที่แห่งนี้ปลอดภัย รอกระทั่งสถานการณ์เข้าสู่ สภาวะปกติ  สงบร่มเย็นแล้วจึงพากันแยกย้ายกลับถิ่นฐานวัดฉลอง...ในปริมณฑลเชื่อกันว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานเก่าแก่อยู่ 3 อย่าง คือ พระพุทธรูป ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” กับรูปหล่อชายชรานั่งถือตะบันหมากเรียกว่า “ตาขี้เหล็ก” และ “นนทรีย์” ซึ่งเป็นรูปหล่อยักษ์ถือกระบองน่าเกรงขาม โดยศรัทธาว่า มีอิทธิฤทธิ์ในด้านปกป้องคุ้มภัยพ่อแช่มกับหลวงพ่อช่วง 2 อริยสงฆ์แห่งภูเก็ตวัดฉลอง...เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตำบลฉลอง ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 2ด้วยสมัยนั้น....พม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง ราษฎรจึงอพยพขึ้นมาตั้งหลักปักฐานที่นี่ จนรอดปลอดภัยอยู่เย็นเป็นสุข จึงได้สร้างวัดขึ้นเพื่อประกอบกิจทางศาสนา โดยเชื่อและศรัทธาว่าปริมณฑลแห่งนี้เป็นชัยภูมิที่ดีมีความปลอดภัย  แล้วจึงอาราธนา “พ่อท่านเฒ่า”มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ศิษย์เอก “พ่อท่านเฒ่า” และเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาคือ “หลวงพ่อแช่ม” อริยสงฆ์รูปนี้ เป็นที่เลื่อมใสนับถือกันมากของ ชาวภูเก็ตและใกล้เคียง แม้ว่าจะละสังขารไปนานกว่านับศตวรรษ ปัจจุบันความเลื่อมใสก็ยังมิคลาย จะภัยเล็กภัยใหญ่ จะมาถึงหรือยังไม่มา.....ก็ยังภาวนา “หลวงพ่อแช่มช่วยด้วย.!!” ด้านหน้าวัดฉลองหรือวัดไชยธารามหลวงพ่อแช่ม....เกิดที่ทับปุด พังงา ในสมัยพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 เมื่อปี 2370 เข้าสู่ร่มกา- สาวพัสตร์ ณ วัดฉลอง ตั้งแต่เป็นสามเณรได้ ศึกษา วิปัสสนาธุระและวิชาอาคมจนมีพลังแก่กล้า  จนเป็น ที่เลื่อมใสจากทั่วทุกทิศก็หันมาพึ่งในบุญบารมี สามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆแม้ต้องคุณไสย เพียง   บริกรรมคาถาแล้วใช้ไม้เท้าจี้จุด  ก็หาย ได้อย่างชะงัด ถือว่า ไม้เท้าด้ามนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่งคู่กับชีวิตของหลวงพ่อแช่ม...!! เมื่อปี 2419 ได้เกิดภัยร้ายแรงและหนักหน่วงแก่สังคม ด้วยชาวจีนอพยพรวมตัวกัน ตั้งเป็น “อั้งยี่” ก่อเหตุวุ่นวายจะเข้ายึดการปกครอง ไล่ล่าฆ่าชาวบ้านแม้เจ้าหน้าที่ก็ต้องลดท่าล่าถอย สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ถึงขั้นบุกทำลายเผาหมู่บ้านที่อยู่อาศัย (ยังมีหลักฐาน ปัจจุบัน หมู่บ้านนั้นมีชื่อว่า บ้านไฟไหม้) เหรียญที่ระลึกหลวงพ่อแช่มเหตุการณ์ครั้งนั้น.....ผู้คนต่างหนีตายไปแออัดอยู่ที่วัดฉลอง (เหมือนดั่งที่เกิด Tsunami ครั้งที่ผ่านมา) หลวงพ่อแช่มจึงเอาผ้าขาวม้ามาลงยันต์ เป็นผ้าประเจียดให้ศิษย์โพกหัวแล้วต่อสู้กับอั้งยี่ แล้วก็ปราบพวกกบฏเหล่านั้นสิ้นลงอย่างราบคาบ  ยุติความหวาด คืนความสงบสุขให้กับชาวบ้านที่หนีร้อนไปพึ่งเย็น....ชื่อเสียงได้ขจรขจายมาตั้งแต่บัดนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาล ที่ 5 ทราบเรื่อง จึงโปรดเกล้าฯให้หลวงพ่อแช่มเข้ามาในพระบรมมหา ราชราชวัง พระราชทานสมณศักดิ์เป็น  พระครูวิสุทธิ-วงศาจารย์ญาณมุนี มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น และโอกาสเดียว กันก็พระราชทานนามวัดฉลองเป็น “ไชยธาราม” แต่ส่วนใหญ่....ก็ยังติดปากกันว่า “หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง” หลวงพ่อแช่ม....ละสังขารเมื่อวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2451 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้บันทึกเรื่องราวต่างทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดย่อยในปาฏิหาริย์ของ หลวงพ่อแช่ม ทั้งครั้งยังมีชีวิตและหลังมรณภาพมีตอนหนึ่งว่า.....ตั้งแต่หลวงพ่อแช่มมรณภาพไม่ได้เดินทางมาภูเก็ตอีกเลย  กระทั่งปี 2471 ได้ตาม เสด็จฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ขณะนั้นหลวงพ่อช่วงเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลอง.....จึงแวะไปกราบนมัสการรูปหลวงพ่อแช่มภูเก็ตในอดีตยุคอังยี่รูปที่ตั้งบูชานั้นมีคนเอาทองคำแผ่นมาปิดแก้บนกันจนเต็ม เว้นไว้เฉพาะตรงบริเวณใบหน้าหลวงพ่อแช่มให้รู้ว่าเป็นรูปใครเท่านั้น  แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่มก็มีการปิดทองด้วยเช่นกัน.....แสดงให้เห็นถึงปฏิปทาในศรัทธาบารมีปี 2486 .....พระวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี  “เพรา  พุทธสโร” เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตสืบสานความเลื่อมใสด้วยการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มกับหลวงพ่อช่วงประดิษฐานวัดฉลอง จึงได้สร้างเหรียญที่ระลึกหลวงพ่อแช่ม “พิมพ์ยันต์วรรค” จ่ายแจกเป็นการหาทุนในการสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ระยะหลังๆ เป็นของเก่าที่มีประสบการณ์มากมายกับ....เหตุการณ์ที่เกิดในปี 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งเกิดสึนามิ ผู้คนแห่หลบหนีภัยขึ้นไป บนวัดฉลองอย่างหนาแน่น เป็นการเตือนความจำ (ซึ่งพากันนอนกับดินกินกับทราย) เสมือนเมื่อครั้งที่ชาวถลางหนีอั้งยี่เมื่อศตวรรษที่ผ่าน ล่วงถึงศักราชนี้เป็นระยะเวลาที่ นานถึง 136 ปีรูปธรรมที่จักต้องบันทึกให้ยาวนาน  ชาวภูเก็ต จึงได้สร้างเหรียญหลวงพ่อแช่มแบบรุ่นโบราณเป็น อนุสรณ์ เพื่อจ่ายแจกแก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสเตือนไว้มิให้เลือนลืม…136 ปี ชาวภูเก็ตปราบอั้งยี่ และ 8 ปี ที่ รอดสึนามิ
 

 


 


 

 

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook