TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

 

ตะกรุดโทน ยาวประมาณ3นิ้วครึ่ง ครูบาสร้อย ขันติสาโร
รหัสสินค้า: 000459
ราคา: 00.00 บาท
 
รายละเอียด:

ตะกรุดโทน ยาวประมาณ3นิ้วครึ่ง ครูบาสร้อย ขันติสาโร

คุณว่าหลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ เก่งมากแค่ไหน ยังไม่เท่า 1-10 ของครูบาสร้อย

ครูบาสร้อย ขันติสาโร' หรือ 'พระครูนิมมานการโสภณ' วัดมงคลคีรีเขตร์ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมรูปหนึ่งภาคเหนือ

เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 ก.ย. 2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

ชิวิตปฐมวัยของหลวงพ่อ

หลวงพ่อสร้อยท่านถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย(ปัจจุบันเป็นอำเภอแล้ว) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาของท่านมีนามว่า วัน และโยมมารดาของท่าน มีนามว่ากรด (ส่วนท่านกำเนิดในสกุลใดนั้นในหนังสือเขียนไว้ไม่กระ จ่าง ผมจึงขอละเว้นที่จะนำเสนอเพื่อป้องกันความสับสนต่อไป ) ท่านมีพี่สาวเพียงคนเดียวมีนามว่า คิด ภายหลังท่านกำเนิดมาได้ 7วัน โยมบิดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม และเมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม ซึ่งท่านก็ได้อยู่ในความดูแลของคุณยายท่านมานับแต่นั ้น ซึ่งคุณยายของท่านนับเป็นบุคคลที่ชอบเข้าวัดฟังธรรมต ามวิถีชีวิตชนบท ซึ่งจะพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอดนับแต่วัยเด็ก

สามเณรสร้อย

ด้วยในวัยเด็กท่านได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด และในช่วงหนึ่งท่านได้มีโอกาสถวายน้ำตาลแด่พระธุดงค์ โดยพระรูปนั้นได้กล่าวกับท่านว่า เมื่อใหญ่แล้วให้บวชนะ ซึ่งท่านได้ระลึกถึงคำนี้มาตลอด จนท่านเรียนจบประถม 4 จึงได้ขออนุญาตคุณยายของท่านบวชเป็นสามเณร โดยคุณยายของท่านได้เห็นชอบด้วยจึงพาท่านไปบวชที่วัด ชุมพร ซึ่งอยู่ในละหานทรายนั่นเอง โดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านบรรพชาเรียบร้อยแล้วท่านก็ได้อยู่กับห ลวงพ่อมั่นนั่นเอง โดยหลวงพ่อมั่นท่านได้สอนให้สามเณรรูปใหม่(หลวงพ่อสร ้อย) หัดบริกรรมด้วยการตกลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ และระวังวัตรถากท่านเช่นการบีบนวด หลวงพ่อมั่นก็จะกล่าวบรรยายอบรมข้อธรรมต่างๆไปพร้อมก ัน จนหลวงพ่อมั่นเห็นว่าสามเณรสร้อยมีจิตใจที่นิ่งมั่นค งดีแล้ว ท่านจึงได้สอนอาคมต่างๆควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้ วย และยังได้พาท่านออกธุดงค์ รุกขมูลเพื่อให้ได้รับข้อธรรมต่างให้เพิ่มพูน(เรื่อง ราวการธุดงค์ ผมขอละเว้นไว้นะครับ)



พระสร้อย ขันติสาโร

ท่านได้อยู่เป็นสามเณรกับหลวงพ่อมั่นมา จนล่วงได้อายุ 22 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากที่เสร็จสิ้นการอุปสมบท หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนท่านไปด้วย ยังความดีใจแก่ท่าเป็นที่สุด ได้กราบลาหลวงพ่อมั่นขออนุญาต ตามหลวงพ่อสุขไป โดยเริ่มแรกหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยในช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักท่านในเรื่องการปฏ ิบัติกรรมฐาน ท่านเล่าว่าท่านปฏิบัติจนมีความสุขบางทีถึงกับไม่ได้ หลับได้นอนเลย แต่ก็ไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด ในพรรษาถัดมาหลวงพ่อมั่นซึ่งเปรียบดังบิดาของท่านก็ไ ด้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายแก่หลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม โดยหลวงพ่อสุขได้เริ่มสอนวิชาต่างๆแก่ท่านซึ่งวิชาที ่สำคัญคือการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ อยู่ต่อมาในระหว่างอยู่ศึกษากับหลวงพ่อสุขอยู่นั้น(ใ นหนังสือไม่ได้บวกว่าช่วงพรรษาใด)ท่านได้เกิดอาการปว ดศีรษะ อย่างแรงขณะปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาจึงขอหลวงพ่อสุขไป พัก โดยระหว่างนั้นเองขณะนอนลงพัก วิญญาณของท่านก็ได้หลุดจากร่าง(ช่วง ระหว่างวิญญาณท่านออกไปนี้ ผมขอละไว้นะครับ) ซึ่งการมรณะครั้งนี้ท่านได้สิ้นลมไป 7 วันเต็มๆ ซึ่งในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีเพื่อตามท่านนำ ท่านกลับมา(ซึ่งวิชาเดียวกันนี้ท่านได้ใช้ช่วยชีวิตเ ด็กชาวกระเหรียงให้ฟื้นคืนมาแล้ว)
เข้าสู่ปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพ โวยจุดหมายคือวัดมหาธาตุ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐ าน ท่านได้อยู้ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือนท่านจึงลาพระอาจารย์ชาดกผู้สอนท่านกลับคืนยังบุ รีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ทำการต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา รองเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัด ท่านได้นำพาหมู่คณะปฏิบัติตามที่ท่านได้ศึกษามา
แต่หลังจากออกพรรษาท่านได้ตัดสินใจออกรุกขมูลโดยท่าน ได้ล่ำลาญาติโยมแล้วก็ออกเดินรุกขมูลลัดเลาะไปตามจัง หวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบล จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนครซึ่งท่านได้พบกับพระเถระรูปหนึ่งและได้ขอร่ ำเรียนวิชาด้วย เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์ จากการหลงป่าครั้งนี้ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดนใช้เส้น ทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ล่วงถึงดอยสะเก็ด เชียงใหม่ โดยพบกับหลวงปู่แหวน และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆจากหลวงปู่แหวนโดยช่วงนั้น หลวงปู่แหวนท่านกำลังเน้นไปทางอสุภะกรรมฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านว่าท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้ลาหลวงปู่แหวน ออกรุกขมูลต่อรอนแรมไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรีบุญเรืองท่านตั้งใจจะไปหาเพื่อนที่แม่ฮ่ องสอนแต่ด้วยติดกาลพรรษาท่านจึงได้ประจำพรรษาที่วัดศ รีบุญเรื่อง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่ ท่านจึงคิดอยากไปที่นั่นดูด้วยคิดว่าคงเหมาะแก่การปฏ ิบัติธรรม สร้างวัดมงคลคีรีเขตร์

เส้นทางการมายังท่าสองยางนี่นับว่าลำบากเอาการ โดยจากแม่สะเรียง ผ่านไปยังแม่กระตวนจนสุดที่แม่ระมาด ต่อเรือไปยังแม่วะ แล้วเดินต่อไปยังแม่กะ จนลุถึงท่าสองยางชาวบ้านก็ดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ ได้ให้ท่านอยู่โปรดโดยช่วยกันสร้างกุฏิให้ท่านด้วยใบ ตองตึง โดยพรรษานั้นท่านได้อธิฐานอยู่พรรษาแต่รูปเดียว ซึ่งระหว่างนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านนามว่าเด็กชายสม แสนไชย คอยอยู่วัตรถากท่าน ต่อมาด้วยท่านมุ่งที่จะใช้เวลาในการปฏิบัติให้มากขึ้ น จึงหลบการพบผู้คนด้วยการลงไปกางกลด อยู่ในบริเวณป่าช้า ซึ่งเด็กชายสมก็ได้ตามไปด้วย โดยเลือกอยู่ใต้ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง(เรื่องราวต่างๆใน ช่วงการอยู่ป่าช้าผมขอละเว้นไว้นะครับ)
ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์ท่านกลับไปยังวัดตามเดิม โดยได้ร่วมใจปรับปรุงวัดให้ท่าน ในวันที่ท่านย้ายกลับเข้าวัดนั้นปรากฏว่าตะเคียนต้นท ี่ท่านใช้อยู่ระหว่างปฏิบัติที่ป่าช้าถึงกับโค่นลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ท่านได้จัดให้มีการบวชพระ และสามเณรขึ้น ทำให้วัดมีพระอยู่จำพรรษาขึ้น รวมได้ 11 รูป ล่วงมาปี พ.ศ.2503 ช่วงพรรษาหลังฉันเช้าแล้วท่านมีอาการครั่นเนื้อครั่น ตัว จึงได้นอนพัก ปรากฏว่าวิญญาณท่านได้ออกจากร่างไปอีกครั้งเหมือนดัง เช่นเคยเกิดกับท่านสมัยอยู่กับหลวงปู่สุข แต่ครั้งนี้ท่านหายไปเพียง 1 วัน(รายละเอียดช่วงนี้ขอละไว้นะครับ ความจริงแล้วน่าสนใจมากเพราะสอนให้เราได้เห็นถึงบาปบ ุญคุณโทษอีกด้วย มีโอกาสจะนำมาพิมพ์อีกทีครับ) ล่วงมาปี พ.ศ. 2505 ท่านมีดำริจะสร้างวัดให้ดีขึ้น ให้ถูกต้องมี วิสุงคามวาสี เหมือนกับเทวดาที่รักษาวัดจะทราบเรื่องราว คืนนั้นในสมาธิเทวดาซึ่งเดิมเป็นเจ้าของที่แห่งนั้น ได้มาปรากฎ และถามถึงความต้องการของท่าน ท่านก็บอกไปว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดให้ดีขึ้น ท่านเจ้าของที่ได้อนุโมทนายกที่ให้ท่าน แล้วลาท่านไปอยู่ที่แห่งใหม่ ยังเทือกเขาแถบนั้น โดยในสมาธินั้น ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆในบริเวณวัดที่จ ะทำการปลูกสร้างถาวรวัตถุ แต่มาติดที่บริเวณหนึ่งซึ่งกำหนดจะเป็นที่ตั้งของศาล า มีหินก้อนใหญ่ สองก้อนกีดขวางอยู่ซึ่งท่านคิดว่าลำพังกำลังชาวบ้านค นยากที่จะเอาออกได้ ในสมาธินั้นท่านว่าเจ้าที่ท่านได้ช่วยเอาออกให้ ปรากฎเป็นควายตัวใหญ่สองตัวเอาเขาขวิดจนหินสองก้อนนั ้นกลิ้งหายไป จนต่อมาได้สบโอกาสที่จะทำการสร้างศาลา ท่านก็มาติดปัญหาที่หินสองก้อนนี้ ซึ่งทำให้ท่านหวนคิดถึงนิมิตในครั้งนั้นว่าเจ้าที่ท่ านช่วยเอาหินออกแล้วนี่ จนช่างผู้คุมงานเสนอให้ท่านย้ายที่ตั้งศาลา แต่ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีรถที่ใช้ก่อสร้างทางของกรม ทางมาจอดที่วัด เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนได้มาบอกหลวงพ่อว่าได้รับคำสั่ง ให้มาช่วยยกหินสองก้อนนั้นออกไป ทำให้การสร้างศาลาลุล่วงไปด้วยดี จนแล้วเสร็จในราวเดือนห้าของปี 2506

และท่านก็ได้พัฒนาปรับปรุงวัดเรื่อยมา และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ให้การอุปถัมภ์ทั้งวัดต่าง ๆ และหน่วยงานของราชการเช่นโรงพยาบาล เสียดายที่รายละเอียดส่วนนี้ไม่มีบันทึกไว้ แต่ที่แน่ๆทั้งละหานทราย และนางรอง ท่านก็ได้ให้การช่วยเหลือหลายแห่งเหมือนกัน
ชีวิตบั้นปลาย
หลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำ อย่างนักในช่วงชรา ผมเองจำได้ว่าครั้งนึงก่อนท่านมรณะไม่เท่าไหร่ ท่านยังมีเมตตาช่วยเททองวัตถุมงคล ให้กับวัดที่หลวงปู่สุขให้ให้การทำนุบำรุงมาก่อนอย่า งเต็มใจ แม้ช่วงนั้นท่านจะไม่แข็งแรงเท่าไหร่ ซึ่งหลังจากเททองเสร็จ ไม่เท่าไหร่ท่านก็มรณภาพ ไม่ทันได้กลับมาปลุกเสก (อาจนับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายของท่านก็ว่าได ้)

จนในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ลูกศิษย์ได้นำท่านเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลนครธนพระราม 2 จนวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงปู่หงษ์ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อสร้อย ด้วยหลวงปู่หงษ์ท่านว่าท่านฝัน (นิมิตของท่านแหละครับ แต่ท่านชอบพูดว่าฝัน) หลวงพ่อสร้อยท่านกระโดดลงจากเตียง เมื่อพบกัน หลวงปู่หงส์ท่านได้ทำด้ายคล้องคอให้แก่หลวงพ่อสร้อย และหลวงพ่อสร้อยท่านได้กล่าวกับหลวงปู่หงส์ในทำนองว่ า ?จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม? ซึ่งหลวงปู่หงส์ท่านก็นิ่ง แล้วก็เดินทางกลับ จากนั้น วันที่ 17 มกราคา พ.ศ. 2541 หลวงพ่อสร้อยท่านได้เรียกพระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมาร วมกัน ได้จับมือจับแขนพระทุกรูป และได้กล่าวอบรบเป็นครั้งสุดท้าย ในลักษณะว่า ?ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดี ขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัดและอดทนทุกคนนะ? มาวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อสร้อยได้สั่งให้ลูกศิษย์นับเงินที่ลูกศิษย์มา ร่วมทำบุญกับท่านเพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายแก่โรงพยา บาล ยังความตกใจและหวั่นใจของลุกศิษย์เป็นอย่างมากเนื่อง ด้วยท่านเองยังไม่หาย และอาการก็ทรุดหนัก แต่ท่านเตรียมออกจากโรงพยาบาล เข้าช่วงกลางคืนของวันที่18 มกราคม พ.ศ.2541ท่านได้สำลักเสมหะ และท่านได้เข้าสมาธิจนถึงราวตีสามย่างตีสี่ ได้เรียกให้พระมาช่วยพลิกตัวท่าน ถึงนาทีนั้นพระทุกรูปได้รวมกันนั่งสมาธิภาวนาอยู่หน้ าห้องหลวงพ่อ จนล่วงเข้าเวลา 07.19น. ของวันที่19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ท่านก็ได้หยุดดับธาตุขันธ์ ทิ้งเหลือไว้แต่คุณงามความดี ที่ยังคงประทับอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน สิริอายุ ๖๙ ปี ครับ


 

 

 
THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook