หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ตามประวัติกล่าวเอาไว้ว่า บรรพบุรุษได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวเวียงจันทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ราชบุรี แต่บางกระแสก็กล่าวว่าบรรพบุรุษของท่านมีเชื้อสายเป็นชาวมอญ
ท่านถือกำเนิดเมื่อปี
พ.ศ.
๒๓๖๖
ในรัชสมัยรัชกาลที่
๓
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่ออายุได้
๖
ขวบ
บิดามารดาได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดอยู่วัดโพธารามนั่นเอง
เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักษรขอม และอบรมบ่มนิสัยตามประเพณีไทยแต่โบราณ
เมื่ออายุได้
๑๕
ปี
ตรงกับปี
พ.ศ.
๒๓๘๑
ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธารามนั่นเอง
โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น
จนกระทั่งมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๖ ที่วัดบ้านฆ้อง(วัดฆ้อง)
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
วัดบ้านฆ้อง(วัดฆ้อง)ในอดีต
เคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและพระกัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียงมาก
สมัยนั้นหากใครได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน
ณ
สำนักแห่งนี้แล้วถือว่าไม่ธรรมดา
แม้ลาสิกขาบทออกไป
ก็จะได้รับการยกย่องเชิดชู เป็นหน้าตาแก่วงศ์ตระกูล ที่มีชื่อเสียงและได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลโดยทั่วไป
สำหรับหลวงพ่อทานั้น
ภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาขอม จนเป็นที่แตกฉาน เมื่อเห็นสมควรแล้ว จึงได้หันมาศึกษาและฝึกปฏิบัติพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน อีกทั้งยังศึกษาทางด้านพุทธาอาคมต่าง
ๆ
อีกมากมายจนชำนาญและเชี่ยวชาญ จึงกราบลาพระอาจารย์ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง
ๆ หาสถานที่สงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม ฝึกจิตให้เป็นสมาธิเพื่อให้พ้นบ่วงแห่งอาสวะกิเลสทั้งปวง สถานที่ต่างๆที่ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านไปนั้นมีหลายที่
เช่น ไปเมืองสระบุรี เพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท ไปเมืองพิษณุโลก
เพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราช
หลังจากนั้นก็รอนแรมในแถบภาคอีสาน ข้ามไปยังฝั่งเขมร
เมื่อกลับเข้ามาแล้วจึงวกไปภาคตะวันตก สู่จังหวัดกาญจนบุรีผ่านไปยังพม่า แวะกราบนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
กาลเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปีที่หลวงพ่อทาได้ธุดงค์จาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ต่าง
ๆ
ใช้ชีวิตอยู่ในป่าดงพงไพร ฝึกฝนสมาธิทางจิตและขัดเกลากิเลสตัณหา ด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง
ในระหว่างนั้นเมื่อท่านได้มีโอกาสพบปะกับพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม ก็จะขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาสรรพวิชาต่างๆอยู่เสมอไม่เคยขาด ทำให้ท่านมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์หลายแขนง ที่ยากจะหาใครมาเสมอเหมือนโดยง่าย
จนกระทั่งเมื่อประมาณปี พ.ศ.
๒๔๑๗
ขณะนั้นท่านมีอายุได้
๕๑
ปี หลวงพ่อทาได้ธุดงค์ผ่านมาทางตำบลพะเนียงแตก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลมาบแค ซึ่งในตำบลนี้มีวัดเล็กๆซึ่งหลวงปู่สุขเป็นผู้สร้าง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นป่ารกชัฏนอกเมือง เมื่อท่านเห็นว่าเป็นสถานที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรมท่านจึงได้ตัดสินใจปักกลดพักแรม และได้ทราบด้วยญาณว่า ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดมาก่อน จึงได้จำวัดอยู่ ณ บริเวณวัดนี้ ซึ่งพอดีที่วัดพะเนียงแตกไม่มีเจ้าอาวาส เนื่องจากหลวงปู่สุขได้มรณภาพมานานแล้ว จึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างกลายสภาพเป็นป่ารกชัฏดังกล่าว ประชาชนเห็นว่าหลวงพ่อทาได้ธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่วัดนี้และมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ให้หลวงพ่อทาอยู่ประจำวัดและให้เป็นเจ้าอาวาสของวัดพะเนียงแตกแทนหลวงปู่สุขเมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๓๐
หลวงพ่อทาได้ปกครองวัดพะเนียงแตกมาเป็นเวลานานพอสมควร
ท่านจึงเริ่มลงมือสร้างเป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งสร้างเสนาสนะต่างๆขึ้นมามากมายรวมทั้งอุโบสถ ในช่วงระหว่างการสร้างวัดแห่งนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่นๆขึ้นมาอีกในคราวเดียวกัน เช่น
วัดบางหลวง
วัดดอนเตาอิฐ
วัดสองห้อง
เป็นต้น
หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ในช่วงนั้นท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นพระนักปฏิบัติเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างยิ่งยวด
มีพลังจิตแก่กล้าและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและฆราวาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่
๕
(
พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓
)
ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ
ให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอๆ
ด้วยพระองค์ท่านทรงโปรดปรานพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก และหลวงพ่อทาก็เป็นพระเถราจารย์องค์หนึ่งที่พระองค์ท่านทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก ดังนั้น
พระราชพิธีหลวงต่างๆ
ท่านจะรับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เสมอๆ
เช่น
พิธีหลวงการพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริศยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และได้รับถวายพัดเนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๕
( ร.ศ.๑๑๑)
โดยพยานหลักฐานยืนยันก็คือ
ภาพถ่ายของท่าน และมีระบุในภาพถ่ายดังกล่าว
ว่าถ่ายร.ศ.๑๒๗
ตรงกับปีพ.ศ.๒๔๕๑
พัดที่ตั้งอยู่ด้านขวามือของท่านคือ พัดยศ
ส่วนพัดทางด้านซ้ายมือ คือ พัดที่ได้รับถวายเนื่องในพิธีหลวงการพระศพ ข้อความที่ระบุในพัดคือ การพระศพสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า รัตนโกสินทร์ศก
๑๑๑
กล่าวได้ว่า ตลอดชีวิตของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านได้ดำรงชีวิตในสมณะเพศอย่างคุ้มค่า มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านได้บรรพชา–อุปสมบท ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลทุกด้าน นำสิ่งที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ มาอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ยึดถือปฏิบัติแนวทางอย่างถูกต้องตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาอย่างเต็มกำลังความสามารถตราบถึงกระทั่งแม้ท่านมีอายุมากแล้ว ก็ยังปฏิบัติศาสนกิจอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
ปี พ.ศ.๒๔๖๒(ร.ศ.๑๓๘)
ตรงกับปีมะแม หลวงพ่อทาได้ชราภาพมากจึงถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ
รวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี พรรษาที่ ๗๖ สิ่งที่หลงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้ร่ำลือนึกถึงท่านก็คือเกียรติคุณ คุณงามความดี และบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านที่จะทำให้เราจดจำไว้อย่างไม่มีวันลืม สมดั่งเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ผู้เข้มขลังแห่งจังหวัดนครปฐม ตราบชั่วกาลนาน
ข้อวัตรปฏิบัติ หรือปฏิปทาอันทรงเปี่ยมเยี่ยมยอดของหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตกองค์นี้
ในครั้งอดีต เป็นที่รู้จักโด่งดังมาก จนเป็นที่กล่าวขวัญชื่นชมของชาวบ้านที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐมเป็นอันมาก
ปัจจุบันกาลเวลาได้ล่วงเลยไปทีละน้อยๆ
กิตติคุณท่านก็รู้สึกว่ายิ่งจะรุ่งเรืองขึ้นเพราะในสมัยนั้นสภาวะอันปั่นป่วนดิ้รนของประชาชนทั้งหลาย ย่อมมองหาสิ่งที่ดีมาคอยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดมีที่พึ่งในตนเอง ซึ่งเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดเป็นอย่างดีที่สุด
อภิญญาฌานที่ไม่เคยเสื่อมคลายของหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ก็ยิ่งเป็นศูนย์ดึงดูดจิตใจชาวพุทธ
ให้เดินทางไปกราบไหว้ขอพรจากท่านอยู่อย่างเนืองแน่น
เมื่อหลายปีก่อน
ผู้เขียนเคยมายืนทบทวนความทรงจำเก่าๆ
ก่อนจะเริ่มเขียนประวัติและปฏิปทาของหลวงพ่อ
มาวันนี้ผู้เขียนก็มายืนอยู่ ณ จุดๆเดิม
มองไปรอบๆบริเวณวัด ก็เห็นผู้คนเดินทางกันมากราบขอพรจากหลวงพ่อทาหนาตามากขึ้น บ้างก็มีรถเก๋งส่วนตัวและรถบัสขนาดใหญ่หลายๆคัน ทำให้บรรดาแม่ค้าพ่อค้ามาจับจองหาที่ทำมาหากินทำให้บรรยากาศครึกครื้นไม่เงียบเหงาเหมือนสมัยก่อนๆโน้น ภายในวัดปรากฏสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่หลายต่อหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญเปรียบด้วยหัวใจในการเดินทางมาที่วัดพะเนียงแตกแห่งนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ แผ่นทองอันเหลืองอร่าม ติดถวายบูชารูปหล่อหลวงพ่อทาภายในมณฑป และพระพุทธปฏิมากรที่ศักดิ์สิทธิ์พระองค์นั้น ย่อมเป็นสักขีพยานความเคารพบูชาที่ไม่เคยเสื่อมคลายของพุทธบริษัทอย่างแน่แท้
จากประวัติอันยาวนานของหลวงพ่อทาแห่งวัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม เท่าที่พอจะสืบทราบนำมาลงเผยแผ่เป็นเกียรติคุณมีดังนี้คือ
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความสำคัญต่อชุมชน
พระศาสนา
และบ้านเมืองพอสมควรในสมัยนั้น
ซึ่งจะสังเกตได้ด้วยการสืบประวัติของท่าน เล่ากันสืบๆ ต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ให้พิจารณาดูง่ายๆ ว่า คนรุ่นเก่าในสมัยของท่าน กาลเวลาอันยาวนานแค่ไหน ทำไมยังมีผู้คนกล่าวขวัญถึง และยังมีหนังสือพระศาสนา ตลอดจนครูอาจารย์ยุคเก่าคอยอ้างอิงให้เป็นช่วงๆอยู่เสมอๆ
นี่แหละพอเป็นหลักฐานว่า หลวงพ่อทาหรือหลวงพ่อเสือ หรืออีกนามคือพระครูอุตตรการบดี
พระครูโสอุดร หรือ หลวงพ่อวัดพะเนียงแตก ต้องมีความสำคัญในข้อวัตรปฏิบัติ จนเป็นที่ยอมรับยกย่องอย่างมากทีเดียว
หากจะนับย้อนยุคนับแต่วันมรณภาพของท่านลงไป ๙๖ ปี คือ
พ.ศ.๒๔๖๒ ปีมะแม
นั้น
ก็หมายความว่า
ท่านเกิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ปีกุน พ.ศ.๒๓๖๖
หลวงพ่อทามีประวัติกล่าวเอาไว้ว่า บิดามารดาท่านผู้เป็นบรรพบุรุษ ได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ ได้มาตั้งหลักปักฐานในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ ฝ่ายชาวมอญได้ยินเข้าก็ปฏิเสธสวนทันทีว่า.......หลวงพ่อทา เป็นชาวมอญ บิดามารดาของท่าน
เป็นชาวบ้านหนองเสือ ท่านก็เกิดที่บ้านหนองเสือ
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อได้บวชแล้วใครๆก็เรียกนามท่านว่า “
หลวงพ่อเสือ
” จะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากคนมอญชัดๆ
เมื่อเติบโตขึ้นมา ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ จนมีความสามารถรู้ดีในท้องถิ่นนั้นคนหนึ่งทีเดียว
ฝ่ายชาวนครปฐม
สรุปลงด้วยการที่ว่าจะเป็นคนลาว จะเป็นคนมอญ แต่เมื่อมาอยู่วัดพะเนียงแตกก็ต้องเป็นพระไทยและเป็นมิ่งขวัญของชาวนครปฐมอีกด้วย
สมัยเด็ก
หลวงพ่อทาเป็นคนใจกล้า พูดจริงทำจริง ไม่ผิดแล้วละก็
เป็นหัวชนฝาเลยทีเดียว สติปัญญาก็ดี
มีความเฉลียวฉลาดเอามากๆ มีนิสัยเป็นผู้นำน่ายำเกรงยิ่งนัก
ครั้นอายุได้ ๖ ขวบ บิดามารดาก็นำมาฝากเป็นเด็กวัด ที่วัดโพธาราม จ.ราชบุรี ทั้งนี้ การมาเป็นเด็กวัด ก็เพื่อเข้ามาดัดนิสัยเด็กๆ
ให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักปฏิบัติตนรู้จักการเข้ามาอยู่กับคนหมู่มาก เป็นที่ที่จะได้อบรมบ่มนิสัยจากคนบ้านมาเป็นคนวัดที่มีกรอบระเบียบวินัย ทั้งยังเรียนรู้ ดู เห็นพระภิกษุ–สามเณร เป็นแบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนานวันเข้าจิตใจก็จะบังเกิดความโอนอ่อน
มีเหตุผลของความเป็นผู้ใหญ่ได้ในที่สุด
บรรพชาศึกษาธรรมะ
เมื่อเจริญวัยอันควร บิดามารดาและญาติมิตรได้พร้อมใจกันถวายบุตรชายของท่านให้ท่านเจ้าอาวาสวัดโพธาราม จัดการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบ ๑๕ ปี คือราวพ.ศ.๒๓๘๑ ปีขาล หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว สามเณรทาได้อยู่ปรนนิบัติครูอาจารย์ด้วยดีตลอดมา
นอกจากนั้นยังได้ศึกษาพระธรรมวินัย เล่าเรียนอักขระธรรมสมัย สืบวิสัยของผู้อยู่ในขอบเขตแห่งศีลธรรมว่า “
อันใดควรปฏิบัติ
และอันใดควรละเว้น
”
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตนของสามเณรสมัยก่อนนั้น( หลวงพ่อเต๋ คงทอง
วัดสามง่าม
ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อทาสมัยก่อน
เล่าไว้ว่า การเป็นสามเณรสมัยก่อน ต้องทำงานหนัก
แต่หนักในทางที่ดี
คือ... ต้องเรียนรู้จดจำเอาอย่างปฏิปทาของพระสงฆ์ สามเณรต้องขยัน ออกบิณฑบาตนี่ขาดไม่ได้
เว้นแต่เจ็บป่วย กลับมาต้องตระเตรียมอาหารให้ครูอาจารย์ พระภิกษุ แล้วก็หมู่พวกสามเณร สามเณรต้องผลัดเวรกันทำความสะอาด เช็ดถูกุฏิ ศาลา หอฉัน ร่วมกับเด็กวัด แม้แต่ลานหลังวัด ก็ต้องไปทำความสะอาดเตรียมไม้กระดาษให้พรั่งพร้อม กลางคืนต้องปรนนิบัติครูอาจารย์ บีบนวดพระอาจารย์ผู้เฒ่าชรา ส่วนการทำวัตรสวดมนต์นั้นไม่ขาดได้ก็จะดีมาก
แม้แต่การซ่อมแซมพื้นกุฏิ ฝาห้อง ประตูหน้าต่าง จะต้องเรียนรู้จนได้เป็นนายช่างฝีมือดี มีฐานะมั่นคงก็ไม่น้อย ต้องมีจิตใจ มานะพยายามสูง ส่วนมากจะเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ทั้งนั้นแหละ สามเณรทา วัดโพธารามก็เช่นกัน
ท่านมีความมานะพยายามสูง มีความจำเป็นเลิศ ประกอบด้วยตัวของท่าน มีจิตใจแน่วแน่ ทำจริงพูดจริง ขยันหมั่นเพียร
ครูอาจารย์จึงรักใคร่คอยดูแลสั่งสอนด้วยดี ตลอด ๕ ปีในการบรรพชาเป็นสามเณร
อุปสมบท
ต่อมาอายุครบบวช
พ.ศ.๒๓๘๖
ท่านเจ้าอาวาสได้ร่วมกับบิดามารดาโยมญาติทั้งหลาย
ไปทำการอุปสมบท
ณ
พัทธสีมาวัดฆ้อง
(
ปัจจุบันเรียกวัดบ้านฆ้อง
)
อำเภอโพธาราม
จังหวัดราชบุรี
โดยมีหลวงพ่อทานเป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อทา
สมัยยังเป็นพระหนุ่มๆ
ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ตลอดถึงบาลี
ไวยากรณ์
มากขึ้น
ปรากฏว่ามีความแตกฉานมากและได้ข้อคิดที่ต้องนำมาอบรมสั่งสอนศิษย์ในกาลต่อมาดังนี้
คือ
๑. ท่านมีสติเป็นเพื่อน
๒. ท่านมีขันติเป็นเครื่องป้องกันตัว
๓. ท่านมีความพากเพียรเป็นพาหนะ
๔. ท่านมีปัญญาเป็นเครื่องมือดำเนินชีวิต
๕. ท่านมีวิชาเป็นทุนของผู้นำ
๖. ท่านมีความดีเป็นเครื่องประดับ
๗.
ท่านมีศัตรู(กิเลสภายใน)
เป็นครูสอน
๘. ท่านเป็นผู้ชนะใจของท่านเอง
(ด้วยเหตุนี้เอง
หลวงพ่อทาจึงชนะใจของผู้คนทั้งหลาย)
หลวงพ่อทา มีความรอบรู้ในด้านคันถธุระศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นครูสอนศิษย์ให้เกิดความรู้ในหลักธรรมจนเป็นที่เลื่องลือ กิตติคุณของท่านได้แผ่ออกไปไกล เช่น
เมืองราชบุรี,
เมืองเพชรบุรี,เมืองกาญจนบุรี,เมืองนครปฐม รวมไปถึงจังหวัดชัยนาท(ซึ่งสังเกตได้ว่าท่านเป็นเพื่อสหธรรมมิกกับหลวงปู่สุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท)
รวมไปถึง
เป็นที่เคารพศรัทธาของเจ้านายชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร
อีกด้วย
วิปัสสนากรรมฐาน
ณ
วัดบ้านฆ้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในอดีตเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน เพราะมีพระผู้รอบรู้ในหลักปฏิบัติถึง ๒ องค์ คือ
๑.ท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านฆ้อง ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ผู้ชำนาญในด้านสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
๒.พระคณาจารย์ที่มีเชื้อสายรามัญมีวิชาอาคมแก่กล้าจิตใจสงบราบเรียบ
คอยอบรมฝึกฝนให้หลวงพ่อทา (สมัยเป็นพระหนุ่ม) โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาอาคม ซึ่งเป็นวิชามนต์อันเป็นเอกแห่งยุคนั้น
ด้วยครูอาจารย์ทั้งสององค์นี้ มีความรักใคร่ในศิษย์
คือ หลวงพ่อทา จึงพยายามฝากฝังวิชาต่างๆที่ตนเองมี
ฝึกให้กับหลวงพ่อทาผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่และได้พิจารณาแล้วว่า
ศิษย์ของท่านคนนี้ไม่ทำให้ท่านต้องผิดหวัง
สำหรับหลวงพ่อทานั้น หลังจากศึกษาในหลักสูตรพระวินัยจนมีความรู้ความสามารถและสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านจึงเริ่มชีวิตในการฝึกปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน อันเป็นวิชาธรรมขั้นสุดยอดต่อไป
สำนักปฏิบัติวัดฆ้องแห่งนี้
หากนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๓–๒๔๐๕ ย้อนลงไปเมื่อ
๑๔๘ ปีที่แล้ว
วัดฆ้องเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยนั้น
ถ้าบุตรชายของใครได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน
หากลาสิกขาออกไป ก็จะเป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแก่วงศ์ตระกูล มีชื่อเสียง มีประชาชนให้ความเคารพนับถือและอาจได้เป็นผู้นำของท้องถิ่นในนั้นด้วย หากบวชเข้ามาแล้วไม่ลาสิกขาออกไปถือดำเนินชีวิตไปในเพศสมณะ ก็จะเป็นครูอาจารย์ผู้ใหญ่เป็นพระเถระผู้กระทำคุณแก่พระศาสนาอย่างกว้างขวาง
หลวงพ่อทา ได้เริ่มฝึกฝนอบรมพระกรรมฐานในช่วงที่พระพุทธศาสนากำลังเฟื่องฟู
ซึ่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๔)
พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระศาสนาอย่างจริงจัง ทรงวางพื้นฐานปรับปรุงระเบียบวินัยแก่นักบวช และพระองค์ทรงสนับสนุนฟื้นฟูพระสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
บุคคลในยุคก่อน มีจิตใจอันแน่วแน่ มีสัจจะเป็นเยี่ยม ศีลธรรมภายในก็เต็มเปี่ยม มีความเคารพเชื่อฟังในองค์ครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่เป็นพิเศษ เมื่อรับคำสั่งแล้วจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
หลวงพ่อทา ท่านจึงได้รับประสิทธิ์วิชาต่างๆให้อีกหลายอย่างหลายประการ นับว่ามีความสามารถอันเป็นยอดจริงๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ หลวงพ่อทาจึงมีแต่ความเจริญก้าวหน้า ได้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีความมุ่งมั่น ดำเนินเจตนารมณ์ของครูอาจารย์และได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตลอดมา
ในหลักธรรมที่หลวงพ่อทานำไปปฏิบัติตนและสั่งสอนแก่ลูกศิษย์ พอค้นคว้าหามาเป็นหลักฐานได้มีอยู่ ๘ ประการ
คือ
๑.ต้องเคารพในครูอาจารย์
๒.ต้องหมั่นฟังธรรมจากครูบาอาจารย์
แล้วปฏิบัติตาม
๓.ต้องหมั่นไต่ถามสิ่งอันที่ตนสงสัย
๔.ต้องสำรวมระวังในฐานะผู้ทรงศีล
๕.ต้องหมั่นนั่งสมาธิเจริญภาวนา ทำใจให้สงบ
๖.ต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมมั่นคงยิ่งขึ้น
๗.ต้องปรารถนาความเพียรให้เกิดสติ ให้เกิดปัญญา
๘.ต้องพิจารณาความเกิดและความตายอยู่เสมอๆ
สู่สันโดษ
ตลอดหลายพรรษาที่หลวงพ่อทาได้รับการฝึกอบรมจากท่านเจ้าอธิการวัดฆ้อง และพระอาจารย์ชาวรามัญ ซึ่งพระเถระทั้งสองได้บอกอุบายหลักปฏิบัติและวิชาอาคมอย่างแก่กล้าและมีความถ่องแท้ในหลักประพฤติวิปัสสนาธรรมตลอดถึงการต้องออกไปอยู่ป่าดงนอกท้องถิ่นของตน
เอง
หลวงพ่อทั้งสองเห็นสมควรให้ศิษย์ได้ออกแสวงหาความจริง ด้วยการเรียนรู้ตนเองในป่าดงโดยลำพัง
หากจะพูดถึงวิชาแล้ว หลวงพ่อทาได้รับการถ่ายทอดจนนำไปปฏิบัติอย่างได้ผล
สามารถเอาตัวรอดปลอดภัยมาได้ทุกประการ ดังนั้น
หลวงพ่อทา ซึ่งอยู่ในคราวอายุ ๓๕ ปีเศษๆ
ท่านกราบลาพระอาจารย์ทั้งสอง ตลอดถึงครูอาจารย์พระอุปัชฌาย์จารย์ทุกรูป ซึ่งรวมไปถึงพระอาจารย์ที่วัดโพธารามที่เคยอาศัยข้าวก้นบาตรจนเติบใหญ่ เมื่อกราบลาพระอาจารย์แล้ว
ท่านออกแสวงหาวิโมกขธรรมต่อไป โดยจาริกไปตามท้องถิ่นต่างๆตามแบบฉบับของพระธุดงค์ยุคโบราณด้วยการถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑.ถือเอาแบบฉบับแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒.เป็นผู้มีสติในเพศของนักบวชแห่งพระพุทธศาสนา
๓.ถือสันโดษ มักน้อย
๔.อยู่ในกลด อาศัยป่าดงพงไพรเป็นที่อาศัยปฏิบัติธรรม
๕.ฉันในบาตร ฉันหนเดียวพอประทังชีวิต
๖.สำรวมระวังศีล มุ่งภาวนาด้วยสติปัญญา
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านไปทำความเพียรครั้งนั้น ท่านกลางความเงียบสงัดในป่า มีสัตว์ป่ามากมายให้เห็นพอเป็นเพื่อนเกิด แก่
เจ็บ ตาย ป่าดงพงไพรสมัยก่อนนั้นอุดมสมบูรณ์มากล้วนเป็นสัปปายะทางใจแก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งความเงียบ ความร่มรื่นของป่าเป็นเสมือนพลังให้ผู้ปฏิบัติธรรมรุดหน้าไปยิ่งๆขึ้น การขัดเกลากิเลสตัณหาออกจากจิตใจนั้นอยู่ที่ผู้ฝึกกระทำ
ส่วนธรรมชาติเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดความแน่วแน่เพ่งเพียรในอารมณ์ มีสติตื่นฟื้นตัวตลอดเวลา สิ่งดี สิ่งเลว มันพรั่งพรูออกมาให้ได้แยกแยะมากมาย
ทุกเวลานาทีมีแต่การฝึกปฏิบัติทั้งสิ้น ความหลับหลงของสตินั้นไม่มี ป่าดงพงไพรที่หลวงพ่อทาเดินย่ำผ่านไปหลายแห่งที่พอจะค้นหาหลักฐานได้ก็คือ
๑.ภาคเหนือหลายแห่ง เพราะหลวงพ่อทามีจิตประสงค์ที่จะต้องไปกราบไหว้พระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลก
๒.ย้อนมาทางภาคอีสาน แล้วเดินธุดงค์ต่อไปยังจุดหมายคือ นครวัตร ประเทศเขมร
แม้ยามนั้นประเทศเขมรจะอยู่ภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส โดยสมเด็จพระนโรดม เมื่อพ.ศ.๒๔๐๖แล้วก็ตาม การเดินธุดงค์ของท่านก็ยังราบรื่นปลอดภัยกว่ายุคนี้
๓.เดินทางมาสู่ภาคกลาง แล้วได้แวะกราบรอยพระพุทธบาทเมืองสระบุรี ซึ่งครูอาจารย์ยุคโบราณจะต้องมีโอกาสเดินทางมากราบไหว้อย่างน้อย ๑ ครั้งในช่วงชีวิต เพราะสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนามากมายโดยเฉพาะประเทศไทย
๔.แล้วเดินธุดงค์ต่อไปทางเมืองกาญจนบุรี ผ่านออกไปทางประเทศพม่า เดินธุดงค์ผ่านไปหลายแห่งจนมาถึงจุดหมายที่เมืองย่างกุ้ง เข้ากราบพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากองประเทศพม่า
กิตติศัพท์
หลวงพ่อทาได้ใช้ชีวิตอย่างสงบในป่าดงพงไพร อาศัยแรงศรัทธาของชาวบ้านต่างถิ่นบิณฑบาตอาหารพอประทังชีวิตเพื่อหนทางแห่งความพ้นทุกข์ การปฏิบัติธรรมกรรมฐานของหลวงพ่อทาเป็นที่ประจักษ์ว่า ท่านมีพลังจิตอันแก่กล้า และมั่นคงจนได้รับสมญานามว่า “หลวงพ่อทาเป็นพระนักปฏิบัติ มีสมาธิจิตสูงอยู่ในระดับพระธุดงค์ชั้นยอด” หลังจากกลับมาประเทศไทย หลวงพ่อทาก็รอนแรมมาทางอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ลัดมาทางจังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี และนครปฐม กิตติศัพท์ของหลวงพ่อทาในระยะนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกล่าวขวัญกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่อของการปฏิบัติธรรมด้วยแล้ว หลวงพ่อทาเจริญข้อวัตรปฏิบัติอย่างยิ่งยวดไม่บกพร่องตกหาย
กิริยาอันสงบเสงี่ยม สำรวมใจ มีธรรมะเป็นเครื่องขัดเกลา เมื่อท่านย่างเท้าก้าวไปถึงแห่งหนตำบลใด จะมีแต่ผู้คนยกย่องสรรเสริญตลอดมา ด้วยวัตรปฏิปทาอันบริสุทธิ์งดงามอย่างพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นบุตรแห่งพระตถาคตเจ้า ได้ขจรขจายเข้าไปถึงพระราชวังหลวงในประวัติศาสตร์จารึกบันทึกไว้ว่า “หลวงพ่อทาแห่งวัดพะเนียงแตก มีศีลาจารจริยาวัตรอันงดงาม เป็นที่เคารพของประชาชน ความดีงามของท่าน จึงเป็นที่วางพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงให้ดำรงตำแหน่งอันสำคัญในพระพุทธศาสนาในกาลต่อมา”
นี้เองเป็นผลของผู้ปฏิบัติธรรม องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระเมตตาให้มนุษย์ทั้งหลายมีธรรมะประจำใจ หลวงพ่อทาเป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติตาม จึงปรากฏความงามในจิตใจเช่นนี้ ความจริงแห่งอมตะ ...ธรรมะ... เป็นเครื่องขัดเกลาและช่วยให้โลกมีความสะอาดจัดให้โลกมีระเบียบเรียบร้อย จัดให้โลกไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย หากโลกทั้งสิ้นนี้มีธรรมะ....โลกก็จะมีแต่สันติสุข
หลวงพ่อทา ท่านมี
หิริ
ความละอายแก่จิตใจไม่ให้กระทำความชั่ว
หลวงพ่อทา ท่านมี โอตตัปปะ เป็นอาการกลัวความชั่วร้าย กลัวความสกปรกลามกจะเกิดขึ้นในจิตใจ
หลวงพ่อทา ท่านมี ขันติ ความอดทนต่อสภาพต่างๆ
ทุกข์ก็ดี สุขก็ดี ท่านจะอดทนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ
หลวงพ่อทา ท่านมี โสรัจจะ มีคว่ามสงบเสงี่ยมเจียมใจ มีอัธยาศัยอันงดงาม มีความปราณีตหมดจดเรียบร้อย
เพราะธรรมะนี้แหละ ยังชำระจิตใจของมนุษย์ให้งดงาม เปลี่ยนจิตใจคนให้เป็นจิตใจพระและใจพระอริยบุคคลในวลาต่อมา ธรรมะเหล่านี้เองเป็นองค์ประกอบที่ทำให้หลวงพ่อทาท่านมีสมาธิจิตสูงล้ำ มีความแข็งแกร่ง กล้าหาญ กล้าทำ กล้าปฏิบัติ จึงเป็นพระเถระผู้ที่ยิ่งยอดในยุคนั้น
ในราวพ.ศ.๒๔๑๒ ปีมะเส็ง ก่อนหลวงพ่อทาคิดจะสร้างวัด ในปีดังกล่าวหลวงพ่อทามีอายุ ๔๖ ปีเศษ ท่านออกเดินธุดงค์อีกวาระหนึ่ง ในการเดินธุดงค์ถือความพอใจและปรารถนาที่จะแสวงหาความสันโดษสงบสุข ในปีดังกล่าว ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ ท่านเข้าไปพบสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งกาลต่อมาก็คือ บริเวณวัดพะเนียงแตกนั้นเองแต่ครั้งนั้น บริเวณโดยทั่วไปเป็นป่ารก มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น หลวงพ่อทารู้ด้วยวาระจิตว่า บริเวณดังกล่าวเคยมีความเจริญมาก่อน และเป็นที่อันเป็นมงคลอย่างยิ่ง เมื่อท่านปักกลดเสร็จ ท่านก็ออกเดินสำรวจดูให้รู้ว่าบริเวณดังกล่าวมีอะไรบ้าง เมื่อเดินไปถึงหมู่ไม้หนาแน่น ก็เห็นเป็นสิ่งปรักหักพัง เป็นสิ่งก่อสร้างแต่ครั้งโบราณ กาลเวลาเปลี่ยนไปเรื่อยๆทำให้ความเสื่อมสลายลบร่องรอยความเจริญในอดีตนั้นเสีย หลวงพ่อทาเดินสำรวจลึกเข้าไปก็พบกับระฆังใบใหญ่ เป็นระฆังโบราณ มีหนังสือขอมโบราณจารไว้เป็นปริศนาลายแทงว่า
“
โตงเตงโตงใต้
ใครคิดได้อยู่ใต้โตงเตง
”
ความปริศนาไม่ยากที่จะตีความ แต่ถ้าใครไม่มีดีอยู่ในตัว ย่อมวิบัติและตายสถานเดียว
หลวงพ่อทาเล็งรู้ด้วยญาณสมาบัติว่า “ใต้ระฆังใบใหญ่นี้ มีทรัพย์สินเป็นแก้วแหวนเงินทองมากมายมหาศาล ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ได้ฝังเอาไว้และมีอาถรรพณ์อันร้ายแรงอีกด้วย”
เจตนาเจ้าของทรัพย์
การเดินสำรวจของหลวงพ่อทา เดินดูทุกแห่งจนทั่วท่านก็ย้อนกลับมาที่ปักกลด คืนนั้นท่านทำภาวนาตามปกติ ความจริงท่านลืมเรื่องสมบัติที่ฝังไว้ใต้ระฆังโบราณไปแล้ว แต่ขณะจิตสงบลงก็บังเกิดความรู้เห็นหรือ “ตาญาณ” ขึ้นไปพบเจ้าของทรัพย์และจำนวนทรัพย์มหาศาลนั้น เมื่อถอนสมาธิออกแล้วท่านก็รำลึกขึ้นว่า “อันทรัพย์ทั้งหมดที่ฝังไว้ใต้พื้นดินนี้ เจ้าของทรัพย์
ได้มอบฝากฝังไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย ตลอดถึงภูตผีปีศาจเป็นผู้ดูแลรักษาไว้
และยังได้อธิษฐานไว้ว่า หากผู้มีบุญมาพบเห็นสมบัติเข้าแล้ว ขอให้ขุดเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ขึ้นมาทั้งหมด แล้วนำไปสร้างการกุศล อุทิศไว้ในพระศาสนา”
สำหรับคนที่มีวาสนา แต่พกพาจิตใจไว้ด้วยความโลภ มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แม้จะตีความลายแทงออกก็ไม่สามารถขุดเอาไปได้ดังนี้ หากมีผู้พบด้วยตีปริศนาลายแทงได้ก็จริง ส่วนในจิตใจพกไว้ซึ่งความโลภ ความมีจิตอกุศล มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ จะขุดไปลึกแค่ไหน กว้างขวางอย่างไร ก็ยากจะได้พบกับสมบัติเหล่านั้น ตรงกันข้าม จะต้องพบกับสิ่งอาถรรพณ์ ทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตได้ สำหรับหลวงพ่อทา พระผู้เรืองเวทย์และอภิญญาแก่ล้ำเลิศองค์นี้ ท่านเป็นพระผู้บริสุทธิ์เป็นกรรมฐานที่หมั่นขัดเกลาตัวตัณหาทั้ง ๓
ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เพียรมุ่งหวังสร้างความดีมาโดยตลอดนับเป็นสิบๆพรรษา
ดังนั้น ความโลภที่จะเอาสมบัติของใครอื่นนั้นตัดปัญหาทิ้งน้ำไปได้เลย หลวงพ่อทาทบทวนสมาธิหลายครั้ง เจตนาเจ้าของทรัพย์ก็มาขอแรงเมตตาจากท่านให้ขุดเอาสมบัติเหล่านี้ขึ้นมาเสียที หลวงพ่อทาพิจารณาแล้ว ท่านรำพึงว่า
“........สถานที่แห่งนี้เคยมีความสำคัญมาก่อน เมื่อมีเจตนาให้นำมาสร้างกุศล ก็จะสร้างวัดเสียที่นี่ หากได้สร้างวัดเอาไว้ในพระพุทธศาสนา เจ้าของและวิญญาณเหล่านั้นก็จะได้อาศัยเนื้อนาบุญผืนนี้เป็นที่สุขคติต่อไป...”
สิ้นเสียงของหลวงพ่อทา
คำว่า “สาธุ” ดังขึ้นระงมไปทั้งป่าแห่งนั้น
รุ่งเช้า ท่านบิณฑบาตกลับมาฉันแล้วจึงลงมือขุดเอาสมบัติใต้พื้นดินเหล่านั้น ขุดก็ไม่ลึกลงไปเท่าไรนักเพียงเอาไม้ขัดๆ เขี่ยๆก็พบกับสมบัติภายใต้พื้นดินมากมาย เอามือล้วงออกมารวบรวมไว้มากพอที่จะทำการสร้างวัดได้ บรรดาแก้วเพชรเงินทองต่างๆ ถูกมากองรวมไว้ ใส่ย่ามปิดไว้อย่างมิดชิด ส่วนสถานที่อันเป็นมงคลนั้น
หลวงพ่อทาได้เห็นเปลวไฟพะเนียงแตกพุ่งขึ้นไปบนอากาศอยู่เสมอโบราณท่านเรียกว่า “ทองลุก”
“ผีเลื่อนสมบัติ” เมื่อหลวงพ่อทา ท่านทำการก่อสร้างวัดสำเร็จตามความปรารถนาของเจ้าของทรัพย์สมบัตินั้นแล้ว ท่านได้ถือเอานิมิตบริเวณเก่าแก่แห่งนี้ ไฟอันเกิดจากเปลวพะเนียงแตก หรือทองลุกนั้นเป็นชื่อวัดในพระพุทธศาสนาขึ้น
คือ วัดพะเนียงแตก มาตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงพ่อเสือ หรือหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
ทำการสร้างเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว แต่ทรัพย์สมบัติที่ขุดขึ้นมาจากใต้ระฆังโบราณนั้นก็ยังเหลืออีกมาก หลวงพ่อทาครุ่นคิดว่า เจ้าของทรัพย์มีเจตนาสร้างกุศล เงินทองที่ใช้สร้างวัดก็ยังเหลืออยู่อีกมาก สมควรที่จะสร้างวัดเพิ่มบุญให้เจ้าของวิญญาณเหล่านั้นตลอดถึงเทพเทวาที่มาร่วมอนุโมทนาอีกด้วย หลวงพ่อทาคิดดังนั้นแล้วได้นำเอาทรัพย์สมบัติที่ขุดขึ้นมาได้ทั้งหมดไปสร้างวัดอีก
๓ แห่งคือ
๑.วัดบางหลวง
๒.วัดดอนเตาอิฐ
๓.วัดสองห้อง
รวมแล้วด้วยความสามารถปฏิปทาหลวงพ่อทาแห่งวัดพะเนียงแตก จึงทำให้วัดทั้ง ๔ แห่งเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น อย่างไรก็ดี การหาไม้มาสร้างวัดนั้น หลวงพ่อทาได้แรงจากชาวบ้านที่มีความเคารพนับถือในตัวท่าน ได้แสวงหาไม้งามๆเดินทางไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี ท่านได้มาสร้างพระอุโบสถและพระวิหาร ตลอดถึงกุฏิ ศาลา นับเป็นความรักความสามัคคีทั้งชาวบ้านและชาววัดอย่างแท้จริง หลังจากสร้างวัดทั้ง ๔ แห่งไปเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อแช่มแห่งวัดตาก้อง
ศิษย์สำคัญของหลวงพ่อทาได้เล่าไว้ในประวัติดังนี้
“ หลวงพ่อทา
พระอุปัชฌาย์ วัดพะเนียงแตก ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นที่พระครูโสอุดรมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงเมืองนครปฐม พระครูโสอุดรก็ดี หลวงพ่อทาก็ดี มีชาวบ้านญาติโยมเรียกอีกนามหนึ่งว่า“ หลวงพ่อเสือ
”
หลวงพ่อทา เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เคร่งครัดมาก มีคนรู้จักนับถือกว้างไกล แม้ที่เมืองสุพรรณบุรีที่พยายามเดินทางมากราบถึงวัดการเดินทางก็มิใช่ว่าจะสะดวกสบาย ลำบากมาก
แต่เมื่อตั้งใจมาหาทุกคนจะปลอดภัยเสมอ” จากคำบอกเล่าไว้ในประวัติของหลวงพ่อแช่มแห่งวัดตาก้องท่านกล่าวนามหลวงพ่อทาว่า…. หลวงพ่อเสือ....ย่อมมีสาเหตุดังจะเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังดังนี้
ในฐานะพระเถระผู้มีความสามารถในการปกครอง ท่านสามารถแสดงบทต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
เช่น
๑.พวกเสือร้ายที่เที่ยวปล้นสะดมภ์
๒.พวกนักเลงโต นักเลงหัวไม้
๓.พวกขี้เหล้า พวกขี้ยา
พวกร้ายทั้งหมดนี้ล้วนมีความขยาดกลัวความเด็ดขาดของหลวงพ่อทามาก หลวงพ่อทาก็มีอำนาจในการปกครองโดยผ่านจากคณะสงฆ์ สมัยก่อนมักมีกฎระเบียบที่เรียกว่า
“อาญาวัด”
คือให้อำนาจการปกครองแก่สมภารวัดโดยเด็ดขาด คำว่า
"อาญาวัด" แม้ในสมัยก่อนราว ๔๕-๕๐ ปีย้อนหลัง วัดวาในต่างจังหวัดมักนิยมจัดงานประจำปีกันเสมอๆ แต่ละปีหรือปีละหลายๆหนเป็นงานใหญ่โตมาก
เมื่อถึงวันงาน ผู้คนจะล้นหลามพากันมาเที่ยวงานดังกล่าว แต่ผู้คนที่มางานนั้นเป็นคนดีก็มี คนเลวร้ายก็มาก พวกนักเลงชอบวิวาทก็มาก พวกขี้เหล้าขี้ยาก็ไม่น้อย ผู้คนสมัยก่อนจะหาความสนุกสนานรื่นเริงได้ยาก วัดจึงเป็นศูนย์รวมทั้งให้ความรู้ในธรรมะ ให้ความรู้ประดับสติปัญญาแล้วยังต้องให้ความสนุกรื่นเริงประจำทุกปีอีกด้วย
วัดพะเนียงแตก ถือเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งเมื่อมีงาน ผู้คนก็หลั่งไหลมาทั่วทิศมาทางบกก็ได้ มาทางเรือก็เยอะ เอาข้าวปลามาหุงหากินกันเลยทีเดียว ทีนี้พวกเกเรที่มีคู่อริอยู่แล้ว ก็ต้องมาเจอกันที่นี้อย่างแน่นอน เมื่อได้ร่ำสุราพอตึงๆก็เริ่มแสดงเกะกะระรานชาวบ้านที่มาเที่ยวงาน
นัยย์ตามองใครไม่เป็นมิตร
ชาวบ้านที่มาจากต่างถิ่นเพื่อมาทำบุญ เกิดความรำคาญใจพากันหลบหนีพวกนักเลงโตได้ใจ
กลายเป็นงานอวดเก่งของคนพวกนี้
อาญาวัด
อำนาจสงฆ์หรืออาญาวัด จากการบอกเล่าของหลวงพ่อแช่มวัดตาก้องซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทาได้บอกไว้
ดังนี้
“
พวกนักเลงโต ตำบลตาก้อง กับตำบลพะเนียงแตก มักจะยกพวกตีกันเสมอแต่ละคราวมันไม่ได้ฆ่ากันตายหรอก เขาตีกันด้วยไม้ อาจใช้มีดกันบ้าง ใครหนังเหนียวก็รอดไป ใครเปราะก็เลือดตกยางออกเสียเชิงชายอายขนาดทิ้งบางทิ้งตำบลที่ตนอยู่ไปเลยนะ ที่วัดพะเนียงแตก มีงานประจำปีแต่ละคราวใหญ่โตมาก ผู้คนมาเที่ยวมาทำบุญกันเยอะ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ทาท่านไม่ขอร้องกำนันและไม่ต้องรบกวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ งานท่านราบรื่นดี ผู้ดูแลรักษาการณ์ก็เป็นตัวของท่านพระอุปัชฌาย์ทาท่านเป็นผู้ตรวจเอง เป็นตำรวจเองท่านเดินตรวจด้วยไม้พลองมันวับเดินรอบวัด เมื่อมีเหตุการณ์พวกนักเลงเขาเกิดตีกันท่านก็ควงไม้พลองเข้าร่วมวงตะลุมบอนด้วย ท่านหวดซ้ายหวดขวาอย่างว่องไว ท่านตีดะไม่ถือว่าพวกไหนต่อพวกไหน ท่านตีแรงๆ
ตีจริงๆเพื่อให้พวกนักเลงเจ็บแล้วเข็ดหราบ ตีจนหัวแตกหัวโน พวกนักเลงรู้ว่าใครร่วมวงด้วยก็ใจฝ่อหลบกันเป็นพัลวัน ก็เจอคนจริงเข้าแล้ว ใครจะหาญกล้า เล่นจนวงไพบูลย์แตกกระเจิงไป ทีนี้พวกร่ำสุรา
พอเมาได้ที่ก็เอะอะเกะกะกับชาวบ้านที่มาร่วมงาน ชาวบ้านพากันรำคาญใจเพราะพวกนี้ไม่พูดเปล่า มือไม้มันไปด้วย
หลวงพ่อทาเดินมาเห็นเข้าพอดี เข้าไปหวดด้วยไม้พลอง พวกขี้เมาหายเมาเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว กลัวหลวงพ่อจนหายเมา ก็ท่านเอาจริงๆ ตีไม่ตีเปล่า จับตัวเอาทั้งพวกนักเลงโตแล้วก็พวกขี้เหล้านั้น มาผูกมัดล่ามโซ่ไว้กลางศาลา การลงโทษเช่นนี้ ก็เพื่อให้เข็ดจำและเยี่ยงอย่างที่ไม่ดี และพอหายเมาแล้วหลวงพ่อจึงปล่อยตัวไป”
ความจริงหลวงพระอุปัชฌาย์วัดพะเนียงแตก ท่านเป็นพระใจดี มีเมตตาเสมอ หากจะมองทางด้านปฏิบัติต่อพวกนักเลงโต นักเลงเหล้า จะเข้าใจว่า “หลวงพ่อทาท่านดุ”
ความจริงมิใช่อย่างนั้น จิตใจของท่านนับว่าประเสริฐเลิศด้วยปัญญา แต่ท่านต้องดุเพื่อแก้นิสัยของคน คนดื้อรั้น
จำเป็นอยู่ดีที่จะต้องทำอะไรรุนแรงไปบ้างทั้งที่ฝืนใจ
ความเป็นพระเถระที่ทรงคุณธรรมสูงของหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก จนได้รับการยกย่องถวายสมณศักดิ์เป็นพระครูโสอุดร
ก็เพราะ
๑.หลวงพ่อทา ท่านมีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ยืนอยู่แถวหน้าอันดับหนึ่งในจังหวัดนครปฐม มีคุณานุภาพมากมายเป็นที่ประจักษ์ในสมัยนั้น
๒.หลวงพ่อทา เป็นพระสำเร็จจิตขั้นอภิญญาและสมาบัติสูง มีปฏิปทาน่านิยมเลื่อมใส
เป็นบุตรพระสมณโคดมโดยแท้
๓.หลวงพ่อทา ท่านมีความสามารถแก่กล้าในทางด้านพุทธาคม ไสยาศาสตร์ต่างๆเป็นที่นิยมเลื่อมใส เป็นที่สักการบูชาของประชาชนใกล้–ไกล โดยทั่วไป
ความโด่งดังของท่าน กิติศัพท์หลวงพ่อทาได้ขจรไปไกล มีเจ้านายระดับสูงมีจิตเคารพในคุณธรรมของท่านมาก ในกาลต่อมา ได้รับสมณศักดิ์ที่สำคัญถวายว่า
“พระครูอุตตรการบดี”
จากการที่ท่านได้รับตำแหน่งสูงสุดของหลวงพ่อทา หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ได้รวมประวัติไว้
ดังนี้
“ ในฐานะเจ้าคณะแขวงเมืองนครปฐม หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ทาได้เลื่อนสมณศักดิ์
ก็ในสมัยนั้นมีการบูรณะพระปฐมเจดีย์ ขึ้น จำเป็นต้องมีพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์เป็นผู้รักษาพระปฐมเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศ
ซึ่งเป็นตำแหน่งแต่งตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หั(ร.๔)มีลำดับตำแหน่ง
คือ.....
๑.ทิศเหนือ คือ พระครูอุตตรการบดี หรือ พระครูโสอุดร
๒.ทิศตะวันออก คือ
พระครูบูรพาทิศรักษา หรือ
พระครูปุริมานุรักษ์
๓.ทิศใต้ คือ
พระครูทักษิณานุกิจ
๔.ทิศตะวันตก คือ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร หรือ พระครูปาจิณทิศ
ในตำแหน่งดังกล่าวมานี้ อุปมาดุจพรหมทั้ง ๔ เป็นผู้อภิบาลองค์พระปฐมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และตำแหน่งทั้ง
๔ นี้
มีการแต่งตั้งถวายพระเถระที่สำคัญๆมาแต่ครั้งอดีตทั้งสิ้น....”
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้มีหลายชนิดด้วยกัน
เช่น
เหรียญรูปหล่อ
พระปิดตา
และเครื่องรางชนิดต่าง
ๆ
พระปิดตาเป็นเนื้อโลหะเช่น
พิมพ์ขมวดมวย
(เนื้อเมฆพัตร)
พิมพ์เกลอเดียว
พิมพ์โต๊ะกัง
(เนื้อเมฆพัตร)
และพิมพ์สามเกลอ
เป็นต้น
เหรียญหล่อเนื้อโลหะ
มีด้วยกันหลายรุ่น
ได้แก่
เหรียญหล่อรุ่นแรก
รองมาเป็นรุ่นสอง