TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

大頭幣,Luang Pu Thuat,價值超過100萬,2500 B.E. 大頭幣,Luang Pu Thuat,價值超過100萬,2500 B.E.

 

Phra Luang Pu Thuat,Wat Chang Hai,05 年,代碼 9 豬.

Name of the image of Buddha: RIAN LUANG Pu That
Supporter of casting: Luang Pu Thuat
Location of Casting or Finding: Wat Sitaram Wat Chang Hai
Year of Casting: (B.E. 2505)
Praise of the image of Buddha: merciful Trading prosperity

Product: 000517

Price:00.00 Baht

Phra Luang Pu Thuat,Wat Chang Hai,05 年,代碼 9 豬

Ra Ajarn Tim 或 Phra Kru Wisai Sophon、Chang Hai 寺、Pattani 和寺庙委员会在 1954 年创建了 Luang Pu Thuat 年的还愿牌位。 完成 看来前来求功德的人不少。 再加上发生了传遍世界的护身符的神奇经历,所以有呼唤教员的声音 寺庙委员会制作了另一个龙普托护身符。 在 Khun Anan Kananurak 的记录中,写着要制作的护身符(与 Wan 混合的土壤)是不确定的,这取决于必要性。 例如,我和 Ajarn Tim 认为适合在本月 16 日、17 日、18 日开光僧侣,护身符是金属制成的。 事实上,我打算用老式的芦荟土打印。 但蒂姆大师坐在路上,请求你的精神允许。 他说,那些土都坏了,要是有足够的资金用金属来造,那可悲了。 我们必须满足金属铸造的需要,这比旧铸造需要更多的资金。 CHALERMPOL Thikhamphon公主殿下 或者中间的王子是建筑的赞助人。 根据 Phra Ajarn Tim 牧师祖父 Tuad 的许可 石板和弥撒是从圣殿带来的。 聚集在曼谷铸造僧侣 在寄给 Ajarn Sawat Dechpuang 之前,他将 Phra Luang Pu Waat 金属护身符铸造在铁的背面,有 3 种尺寸:小、中、大,还带来了许多金属。 无论是一块块金银投入熔炉,至于“麦凡佛像”的浇注,都是铸铁模一个一个。 不使用像合金护身符那样倒入花束或弹药筒的方法 字母Phra Kring后面还有一个type,后面会讲到,意思是金属铁后面的Luang Pu Thuat。 创作于此时,分为99个由黄金和金属合金制成的大模,不到1000个的Phra Mek Phat大模,以及数万个由nawa金属和混合合金制成的大模。“小”还有一个Luang Pu Thuat 的冲压,后者的模型,字母和铃铛护身符。 可以说是在寺外铸造铁版之后,龙普托佛牌的创作。 其中寺庙是举行金属诵经仪式和“铸造金石板”的地方,包括中央王子带来所有开光的金属石板在 Khok Moo 寺或铸造的大诵经仪式 曼谷西塔兰寺 超越金山寺 或建造龙婆托护身符时的一座小金山。这一次,寺庙在寺庙里进行了一场大型的皇家增强活动。 这后来被确定为 Wat Chang 的年度活动 仪式举行了 3 天 3 夜,即 1962 年 5 月 16 日星期三,对应于 6 月上弦月的第 13 天上午 9:00。 为僧众持佛咒,次日,1962年5月17日,星期四,上午9:00,依迷信法则宣读经文,并请来法师祖父Thuat的灵魂,于9:00入座。 p.m. 坐下来祈祷。Thapisek 整晚 1962 年 5 月 18 日星期五上午 9 点 Visakha Bucha 并以布道 1 章结束,最后在 1962 年 5 月 19 日星期六早上 6 点。Phra Ajarn Tim 第一次分发龙普托的护身符 有评论说 “Phra Reverend Grandfather Tuad,金属材料,1962 年”如下。 真品是莲花瓣,中间款的尖头是圆的,另一款的尖头像铁一样。 殿下亲自控制浇金,先浇九十九块金,后浇云,是铜掺铅炼成的金属,用硫磺洗过,变黑变脆。 后面是盆 因为脆,他没怎么装饰,能浇的金属不到1000块,阿赞沙瓦叫他别再浇了。 Sangkhati 边线有长袍的水平 V 形条纹。 不在对角线上,随后,金属被殿下倒在了中间。 投入大量黄金。 铜合金+黄铜等金属浇注前 公众前来捐赠)两个大字体,数了大约 6,000 块肉 - Reverend Grandfather Tuad metal 这是一束花。 除了乌云飘过 因此,坩埚和土坩埚有污渍。 底座下有修理标记和锉屑。 因为是熟练的工匠,出现的锉痕会顺着一个方向走,看起来很整齐,工匠还是把那个不好看的雕像给去掉了。 来做很多重复冲压模具,这就是重复冲压的源头

  ระอาจารย์ทิม หรือพระครูวิสัย โสภณ วัดช้างให้ ปัตตานี และคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อว่านหลวงปู่ทวดปีพ.ศ.2497 สำเร็จลุล่วงแล้ว ปรากฏว่ามีผู้มาขอรับและร่วมบุญจำนวนมาก อีกทั้งประสบการณ์ปฏิหาริย์ขององค์พระเครื่องได้เกิดขึ้นเป็นที่เล่าขานกันไปทั่วจึงเกิดเสียงเรียกร้องให้คณะ กรรมการวัดจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดขึ้นอีก ในบันทึกของคุณอนันต์ คณานุรักษ์ เขียนไว้ว่า พระเครื่องที่จะสร้าง (ดินผสมว่าน) อีกหรือไม่นั้นยังไม่แน่แล้วแต่ความจำเป็น ซึ่งท่านอาจารย์ทิมและผมเห็นสมควร เช่น จะทำพิธีปลุกเสกพระในวันที่ 16, 17, 18 เดือนนี้นั้น เป็นพระเครื่องหล่อด้วยโลหะ ความจริงแล้วผมตั้งใจจะพิมพ์กับดินว่านแบบเก่า แต่ท่านอาจารย์ทิมนั่งทางในขออนุญาตต่อพระวิญญาณของท่าน ท่านบอกว่าดินว่านเหล่านั้นใช้แล้วแตกหักคงจะเสียใจหากมีกำลังทุนพอก็ให้สร้างด้วยโลหะ เราจึงต้องปฏิบัติตามซึ่งในการหล่อเนื้อโลหะนั้นจำเป็นจะต้องมีทุนรอนมากกว่าการหล่อแบบเก่า ซึ่งก็ได้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือพระองค์ชายกลางทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ในการจัดสร้าง ตามคำอนุญาตจากหลวงปู่ทวดผ่านพระอาจารย์ทิม มีการนำชนวนและมวลสารจากวัด นำไปหล่อพระร่วมกันที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะส่งไปให้อาจารย์สวัสดิ์ เดชพวง เป็นผู้หล่อ หล่อพระหลวงปู่หวดเนื้อโลหะหลังเตารีดขึ้น 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยังทรงนำโลหะหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นก้อนเงินและทองคำใส่ลงในเตาหลอม ส่วนการเท “พระเนื้อเมฆพัด” ได้ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์ มิได้ใช้วิธีเทเป็นช่อหรือตลับอย่างพระเนื้อโลหะผสม นอกจากนี้ยังมีแบบหลังตัวหนังสือ พระกริ่ง ซึ่งจะพูดถึงในคราวหลัง หมายความว่า หลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อโลหะ ที่สร้างในคราวนี้แบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคําผสมโลหะ จำนวน 99 องค์ พิมพ์ใหญ่ พระเนื้อเมฆพัด จำนวนไม่ถึง 1,000 องค์ และพิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ และเนื้อโลหะผสม อีก จำนวนหลายหมื่นองค์ ที่เหลือเป็น “พิมพ์กลาง" และพิมพ์เล็ก" นอกจากนี้ยังมีการปั๊มหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัว หนังสือ และพระกริ่งอีกด้วยดัง นั้นอาจกล่าวได้ว่าการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นหลังเตารีดมีการเททองหล่อกันนอกวัด โดยวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะ และ ”การลงแผ่นทองชนวน" รวมถึงพิธีปลุกเสกใหญ่ซึ่งพระองค์ชายกลางได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกแล้วนั้นไปหล่อกันที่วัดคอกหมูหรือ วัดสิตารามกรุงเทพฯ อยู่เลยวัดสระเกศ หรือภูเขาทองไปเล็กน้อยในการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดครั้งนี้ทางวัดได้ดำเนินการพร้อมกับงานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ประจำวัด ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็นงานประจำปีของวัดช้างให้ไปด้วย พีธีดังกล่าวจัดขึ้นถึง 3 วัน 3คืน คือ วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ .2505 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 เวลา 9.00 น. อัญเชิญพระเครื่องหลวงปู่ทวดเข้าสู่โรงพิธีในพระอุโบสถ เพื่อให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ วันรุ่งขึ้น วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2505 เวลา 9.00 น. ทำพิธีประกาศโองการตามหลักไสยศาสตร์และอัญเชิญดวงจิตหลวงปู่ทวดเข้าประทับในพิธีเวลา 21.00 น. นั่งปรกและสวดพุทธาภิเษกไปตลอดทั้งคืน และวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 เวลา 9.00 น. กระทำประทักษิณเวียนเทียน วิสาขบูชาและปิดท้ายด้วยเทศนา 1 กัณฑ์ และสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2505 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ทิม แจกพระเครื่องหลวงปู่ทวดเป็นปฐมฤกษ์ มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับ "พระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะปี 2505" ดังนี้ - หลังเตารีดที่นิยมเรียกนั้น ความจริงเป็นกลีบบัว ในพิมพ์กลาง ปลายจะมน พิมพ์อื่นปลายแหลมเหมือนเตารีด - พระองค์เจ้าเฉลิมพลฯ ทรงควบคุมการเทโลหะด้วยพระองค์เองครั้งแรกทรงเทเนื้อทองคำ 99 องค์ ต่อมาเทเนื้อเมฆพัดซึ่งเป็นโลหะเกิดจากทองแดงผสมตะกั่วซัดด้วยกำมะกันสีออกดำมันวาวเปราะ ด้านหลังเป็นแอ่ง เนื่องจากเปราะจึงไม่นำมาเจียนแต่งมากนัก เทได้ไม่ถึง 1,000 องค์โลหะหมด อาจารย์สวัสดิ์เลยให้หยุดเท เส้นข้างสังฆาฏิจะมีริ้วจีวรในแนวนอนเป็นบั้งๆ ไม่ป็นแนวเฉียงต่อมาได้ทำการเทเนื้อโลหะโดยเสด็จพระองค์ชายกลาง ใส่ทองคำผสมลงไปเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะเทเนื้อโลหะผสมทองแดง+ทองเหลืองและโลหะอื่นๆ ที่ประชาชนมาร่วมบริจาค) ในส่วนพิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 เนื้อนับได้ประมาณ 6,000 องค์ - หลวงปู่ทวดเนื้อโลหะ เป็นการเทแบบเป็นช่อ ยกเว้นเนื้อเมฆพัด จึงมีคราบเบ้าและดินขี้เบ้าจับอยู่ ด้านใต้ฐานปรากฏเป็นรอยแต่งซ่อมและตะไบ - เมื่อเทเสร็จมีการส่งไปให้ช่างโรงงานแสงฟ้าแต่งพิมพ์ เนื่องจากเป็นช่างมีฝีมือรอยตะไบที่ปรากฏจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดูเรียบร้อย และช่างยังคัดองค์ที่เทไม่สวยออก มาให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกเป็นจำนวนมากเป็นที่มาแห่ง พิมพ์ปั๊มซ้ำ


 

 
THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook