ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ครูบาอิน อินโท
วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย)
ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
๏ อัตโนประวัติ
“พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน
อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-
ฟ้าลั่น”
อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ผู้สูงยิ่ง
ด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม
เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณ
ล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป
ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า
“ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ
เถิด
ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อ
กวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม
บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี
จังหวัดชัยนาท
“ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว
พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำ
กล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอ
เมือง จังหวัดลำปาง
“จิตของครูบาอิน
ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม
วัดโป่ง
จังหวัดชลบุรี
“ครูบาอิน
ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของ
ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาท
ราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
“หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น
ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม
พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัด
เชียงใหม่
“ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน
ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำ
กล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน
อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อ
ดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ฯลฯ
หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่ครูบาอิน อินโท
ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่ง
เชียงใหม่
อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม
ที่มีให้แก่ผู้เคารพ
นับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต
อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำ
สอนของท่าน
มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป
พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน
วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ
เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม
๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ
บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอย
หล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์
พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนคร
เชียงใหม่ในขณะนั้นคือ
เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒)
ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา
๕ คนด้วยกัน คือ
๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)
พระครูวรวุฒิคุณ
อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและ
พี่น้องว่า
เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล
เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง
(รัชกาลที่ ๖)
ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่
ท่านก็แต่งนาม
สกุลเองว่า “วุฒิเจริญ”
เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธ
ศาสนา