TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

พระบูชาหลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส ขนาด 5 นิ้ว  เส้นเกศา ผ้าจีวร ชาน หมาก ผงอิทธิเจ หายาก สร้างน้อย

รหัสสินค้า: 000694

ราคา: 10,000.00 บาท

รุ่น: รุ่น พิเศษ เซยิค 100 ปี 2540


ยี่ห้อ:พระบูชาหลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส ขนาด 5 นิ้ว เส้นเกศา ผ้าจีวร ชาน หมาก ผงอิทธิเจหายาก สร้างน้อย

รายละเอียด:พระบูชาหลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส ข นาด 5 นิ้วเส้นเกศา ผ้าจีวร ชาน หมาก ผงอิทธิเจ หายาก สร้างน้อย

 


หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์ โดยคุณ วีรยุทธ เมื่อ 29 มิ.ย. 2007
ความเป็นมา
ในอดีต ต้นตระกูลของหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญนั้นสืบย้อนไปประมาณสามชั่วอายุคน บรรพบุรุษทางสายโยมบิดาคือโยมปู่ของท่านมีเชื้อสายชาวภูไท ชนเผ่าหนึ่งที่เดิมมีถิ่นฐานแถบนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ต่อมาได้พากันอพยพย้ายที่ทำกินข้ามแม่น้ำโขงมาทางฝั่งประเทศไทย โดยมาตั้งรกรากอยู่อาศัยทำมาหากินในเขตจังหวัดสกลนครเป็นส่วนใหญ่ โยมปู่ของท่านมีชื่อนิยมเรียกกันตามชื่อบุตรคนหัวปีว่า "พ่อตัน" ได้สืบทอดอาชีพเดิมๆ ที่บรรพบุรุษทำกันต่อๆ มา คือ การทำนาทำสวน ปลูกผักและหาปลาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวเรื่อยมาและได้มาเจอคู่กรรมคือโยมย่า "สีแพง" ที่จังหวัดสกลนครนี่เอง เมื่อได้ตกลงอยู่กินด้วยกัน ทั้งสองคนก็ได้ร่วมสร้างครอบครัวขึ้นมาใหม่ ต่างมีลูกด้วยกันรวมแล้วถึง ๗ คน ตามลำดับ ดังนี้
๑) นาย ตัน
๒) นาง น้อย
๓) นาง จันทา
๔) นาย จำปา
๕) นาย สีทอง (ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นพระ เป็นหลวงลุงของหลวงปู่)
๖) นาย สน (โยมพ่อของหลวงปู่)
๗) นาย สาน
บ้านเดิมของหลวงปู่ท่านก็คือบ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร อันเป็นบ้านเกิดเดียวกันกับหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และหลวงปู่แว่น ธนปาโล ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่หลวง นับเป็นญาติกันทางสายโยมมารดาอีกทีหนึ่ง ส่วนโยมตาของหลวงปู่ชื่อว่า "เกล้าน้อย" ซึ่งเดิมเป็นคนทางภาคเหนือ สืบเชื้อสายมาจากพวกไทยใหญ่ หรือที่เรียกว่า ไทยลื้อ มีถิ่นฐานบ้านเดิมอยู่แถบบ้านกล้วย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้เอาสินค้าจำพวกเครื่องเขินและเครื่องเงินเครื่องประดับเครื่องใช้ต่างๆ อันเป็นงานฝีมือของทางภาคเหนือ หาบด้วยบ่ากันเป็นหมู่ นำไปค้าขายทางแถบภาคอีสาน รอนแรมไปเรื่อยๆ แล้วก็หาหรือแลกซื้อสินค้าจำพวกผ้าที่ทอด้วยมือ มีลวดลายสวยงามทางภาคอีสาน กลับไปขายทางภาคเหนืออีกทีหนึ่ง เที่ยวหนึ่งๆ ก็นับเป็นเดือนๆ บ่อยเข้าก็ได้ไปเจอกับโยมยาย (ไม่ทราบชื่อ) ซึ่งมีอาชีพทำนาและอยู่อาศัยในจังหวัดสกลนคร เมื่อถูกใจกันก็ตกลงอยู่กินร่วมกัน โดยช่วยกันทำมาค้าขาย รับซื้อปลาซื้อผักจากชาวบ้านมาขายต่อ บางทีก็กลับไปทางเหนือเพื่อเอาสินค้ามาขาย ต่างช่วยกันประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงครบครัวจนมีลูกด้วยกัน ๗ คนด้วยกัน คือ
๑. นาย คุด
๒. นาง นา
๓. นาง สา
๔. นาง สอน
๕. นาง ซ้อน
๖. นาง สียา (โยมแม่ของหลวงปู่)
๗. นาง น้อย
ครอบครัวสอนวงศ์ษา
ต่อมาเมื่อนายสนได้มาพบนาง สียา และได้รักใคร่ชอบพอกัน ตกลงใช้ชีวิตร่วมกันสร้างครอบครัวขึ้นมาโดยใช้นามสกุลว่า "สอนวงศ์ษา" ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษที่แรกเริ่มย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากทางฝั่งไทย อันเป็นธรรมเนียมนิยมในสมันเริ่มแรกที่ให้มีการใช้นามสกุล ได้มีลูกด้วยกัน ๖ คน ดังนี้
๑. นาย หลวง สอนวงศ์ษา (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
๒. นาย หลวย สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๓. นาง หลาว สอนวงศ์ษา ปัจจุบันบวชเป็นแม่ชีอยู่ปฏิบัติพระลูกชายที่วัดศิลาวารี อ.เถิน จ.ลำปาง
๔. นาง เลี่ยน สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๕. นาง ล้อง สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๖. นาย ไหล สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
นาย หลวง สอนวงศ์ษา หรือหลวงปู่หลวง กตปฺโญ ได้ถือกำเนิดเกิดมาเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ที่บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
การเป็นลูกชายคนโตของพ่อแม่ จึงจำเป็นต้องช่วยเป็นกำลังสำคัญของทางบ้านช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ในการดูแลน้องๆ และงานในบ้านทั่วไป ตลอดจนช่วยเก็บหาพืชผักจับปลามาเลี้ยงชีพมาตั้งแต่ท่านอายุยังน้อย ชีวิตของชาวไร่ชาวนาในชนบทสมัยนั้น จำต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศเข้าช่วย หากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือมีโรคแมลงระบาดเบียดเบียน พืชผลผลิตที่ปลูกก็เก็บเกี่ยวได้ไม่เต็มที่ เสียหายเยอะ ก็ต้องหาอาชีพอื่นมาช่วยเสริม เช่นรับจ้างทำงานต่างๆ ตามแต่จะหาได้ หรือปลูกพืชไร่อย่างอื่นทดแทน พอมีพอกินไม่ให้อดอยาก แม้ต้องเหน็ดเหนื่อยเพียงไร
นาย สน - นาง สียา ตลอดจนเด็กชายหลวงในสมัยนั้นก็ต้องพากเพียรพยายามอดทนหาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว โดยการทำนาทำสวนและค้าขายปลา หมุนเวียนกันไปตามแต่วาระโอกาส เฉกเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ซึ่งต่างต้องดิ้นรนทำมาหากินด้วยกันทั้งนั้น จะดีกว่าปัจจุบันก็ตรงที่ค่าครองชีพไม่สูงนักอย่างสมัยนี้ ผักปลาก็หาได้ง่ายไม่ลำบากนัก ชีวิตความเป็นอยู่จึงสุขสบายตามอัตภาพ และดีที่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปเช่าเขาทำกิน
ใช้กรรมเก่าตั้งแต่เด็ก
ด้วยเหตุที่ต้องช่วยงานทางบ้านตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เด็กชายหลวงในขณะนั้นแม้อายุเพียง ๕ ขวบ วันหนึ่งขณะที่ได้ช่วยแม่ใช้มอง (ที่ตำข้าว) ตำขาวอยู่นั้น เด็กชายหลวงมิทันระวังตัว ไม้ค้ำมองตำข้าวได้เกิดล้มมาทับข้อเท้าข้างขวาอย่างจัง จนข้อเท้าพลิกเดินไม่ปกติตั้งแต่นั้นมา
หลวงปู่หลวงท่านบอกว่า "เป็นกรรมเก่าของท่านเอง" ตั้งแต่อดีตชาติ เคยใช้เท้าขวาเตะผู้มีพระคุณ กรรมนั้นได้ตามมาส่งผลให้ต้องชดใช้ แม้จะล่วงเลยมานานนับอีกชาติหนึ่งก็ตาม ท่านว่ากรรมใดๆ ก็ตาม มิอาจตัดหรือลบล้างได้ ต้องชดใช้ เว้นแต่กรรมที่คู่กรณีต่างอโหสิกรรมต่อกันแล้วเท่านั้น จึงอาจระงับหมดไปได้ ยกเว้นกรรมที่เป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมหนัก กรรมบางอย่างอาจขอผ่อนปรนจากหนักเป็นเบาได้ด้วยบุญกุศลที่ได้สร้างได้ทำ แต่ก็ยังต้องชดใช้บางส่วนที่เหลืออยู่ กรรมมันตามคอยส่งผลได้นับร้อยๆ ชาติ
"คนเราทำกรรมก่อกรรมไว้ เมื่อตายไปก็ต้องชดใช้กรรมอยู่ในนรก จะยาวนานอย่างไรก็ตามความหนักเบาของกรรมพ้นจากนรกขึ้นมา ก็ต้องมาใช้เศษกรรมในภพภูมิอื่นต่ออีกจนหมดกรรม ใช่ว่าจะใช้กรรมหมดได้ในครั้งเดียว ชาติเดียว ครู่เดียว ฉะนั้นเราจึงไม่ควรประมาทในกรรม กรรมมันเป็นวิบาก กรรมมันตัดรอนเอาได้ทุกเมื่อ"
จากอุบัติเหตุในครั้งนั้น มีผลให้เด็กชายหลวงต้องป่วยหนักจนเกือบตาย นางสียาได้ไปขอบนบวชไว้ว่า ถ้าลูกของนางหายจากการป่วยครั้งนี้ จะให้บวชเป็นพระ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ฝังใจเด็กชายหลวง นำสู่ความคิดที่จะเ


@----------- ศิษย์รักหลวงพ่อ สายตรง -----------@
@--------------------- ขอบคุณครับ ---------------------@
---------------- รับประกันความแท้ 100% -----------------
--------- เพื่อนๆท่านใดสนใจโทรติดต่อด่วนครับ ---------
--------------- พร บางระจัน 081-7842076 ----------------

 

 

 

 

 

 

 


 

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook