TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

  Rian Luang Por Nai Inthasilo, Ban Chaeng Temple, Bang Pahan, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. BE 2517

 

Name of the image of Buddha: RIAN Luang Por Nai Inthasilo,
Supporter of casting: Ban Chaeng Temple, Bang Pahan, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

 

Location of Casting or Finding: Ban Chaeng Temple, Bang Pahan, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Year of Casting: (B.E. 2517
Praise of the image of Buddha: merciful Trading prosperity

Product: 000792

Price:500,000.00 Baht

 

 焊耳硬幣,1974 年,Luang Por Nai Inthasilo,Ban Chaeng 寺,Bang Pahan,大城府。 它被稱為佛法之地,有許多新舊著名的僧侶。 世代傳承佛陀智慧 Nai Inthasilo 神父,大城府 Bang Pahan 縣 Ban Chaeng 寺方丈。 他是一位受人尊敬的僧侶。 以紋身聞名 據說那個時代幾乎每個有刺青的大城府人都一定有Luang Por Chaeng的刺青。 尤其是蜥蜴護身符。 在善良和人緣方面都很出色 此外,他們還創作了許多護身符,如Takrud Tone、Takrud Maha Ud、Phra Mokkallana、大小版畫、Phra Buddha Gotama、大小版畫。 包括許多不同的硬幣,尤其是1969年鑄造的第一枚硬幣Luang Pho Nai,非常受歡迎。 但與第一個版本一樣受歡迎的硬幣是 焊耳硬幣,Luang Pho Nai,Ban Chaeng 寺,第四版,1974 年創作。 它是一種圓形、橢圓形的壓印硬幣,帶有焊耳,這意味著硬幣首先被壓印。 然後用黃銅焊接耳朵。 硬幣正面 像 肖像下方寫著這樣的字 “Luang Pho Nai Inthasilo,Ban Chaeng 寺,大城府” 硬幣背面 是一個密碼字符 硬幣的內側邊緣寫著「Asaṅvisulopusabubhā」。 中央是一個長方形的揚特拉。 這是你的個人護身符 頂部和底部是三個 yantras。 或螺旋槳護身符 完成後 長久以來獨自幸福 因此,它於1974年被製成30泰銖的硬幣供奉,看來受到了弟子們的關注。 他們出租、崇拜、收集。 知道它是按照古代風格製作的,即將錢幣的細節雕刻成淺浮雕。 已成為舊城區又一熱門錢幣。 焊接耳錢幣,Luang Phor Nai(正反面) 他的原名奈,性格很好,生於1903年,出生於大城府邦帕罕縣漢桑分區,具體出生日期和月份沒有明確記載。 畢業於寺廟學校四年級。 那時候,教育還不是很發達。 足夠閱讀和寫作 畢業後,他在家中幫父母工作,12歲時在Ban Chaeng Temple出家。 與帕克魯帕特 做一位導師 直到22歲,他才在Ban Chaeng Temple出家。 與帕克魯帕特 他是一位戒師,在第一次佛教大齋期間被暱稱為 Inthasilo。 開始穿越各地的森林和山脈朝聖。 這裡有大量的兇猛動物 但對於那些野獸卻沒有絲毫的畏懼。 當你在森林裡漫步直到你滿意為止 於是他回到了Wat Chaeng。 探望親友 在Ban Chaeng Temple住了三個月,然後跟著Luang Pu Suk學習智慧。 Wat Pak Khlong Makham Thao 寺 在Wat Pak Klong Makham Thao學習期間,他遇到了「殿下」Krom Luang Chumphon Khet Udomsak。 和他一起學習一些科目 他們中的大多數人都會從龍普石那裡獲得知識。 但現在還沒到討論這個主題的最後一個分支的時候。 龍普石也先死。 即使只有一年。 但Luang Pho Nai對各種科目的訓練和複習如此嚴格,以至於他真正被認為是Luang Pu Suk的最後一位弟子。 之後,他跟隨Yam Daeng大師學習護身符和巫術。 誰是龍普素的大弟子 當這一切完成後,他返回班昌寺度過佛教大齋節。 當時有Phrakru Anuwat Sangkhakit (Kluam) 擔任院長。 去墓園待了20年,說墓園安靜祥和。 適合練習內觀禪修。 幫助 Phrakkru Sangkhakit (Klaem) 開發 Wat Ban Chaeng。 透過建造教堂、修道院和佈道廳。 當 Phrakru Sangkhakit 去世時 1969年,當時71歲的Luang Pho Nai被親戚邀請接替他擔任住持,但沒有接受任何僧侶頭銜。 照顧比丘和沙彌 包括長期供養優婆塞和優婆夷 他也是許多年輕人受戒為沙彌和比丘的導師。 來自Luang Pho Nai長期以來對他的學生和親人的修行和善意。 讓你受人尊重 此外,當你創造了一件聖物並讓人崇拜它時,它會帶來幸福、繁榮或擺脫各種災難。 由此,Luang Por Nai的聲譽躋身於泰國著名高僧之列。 當他還持有蘊藏時 儘管我已經很老了 但仍然堅強 總是面帶微笑開朗 他也有一顆充滿善意的心。 平靜地離去 1988年5月10日星期二,他86歲,74歲。

เหรียญหูเชื่อม 2517 หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งธรรมที่มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก สืบสานพุทธาคมจากรุ่นสู่รุ่น หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล เจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือ มีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ กล่าวกันว่า ชาวอยุธยาที่สักยันต์ในยุคนั้นจะต้องมีรอยสักของหลวงพ่อแจ้งเกือบทุกคน โดยเฉพาะยันต์จิ้งจก ที่มีความโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม นอกจากนี้ ยังสร้างเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง อาทิ ตะกรุดโทน, ตะกรุดมหาอุด, พระโมคคัลลาน์พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก, พระพุทธโคดมพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก รวมถึงเหรียญรุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่น โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อหน่าย สร้างปี พ.ศ.2512 ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แต่ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เหรียญรุ่นแรกคือ เหรียญหูเชื่อม หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง รุ่น 4 ปี จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2517 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกลมรูปไข่ หูเชื่อม คือปั๊มเหรียญขึ้นมาก่อน เชื่อมหูทีหลังด้วยทองเหลือง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือน ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง อยุธยา” ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระเลขยันต์ ขอบเหรียญด้านใน อ่านว่า “อะสังวิสุโลปุสะพุภะ สังววิธาปุภะยะปะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ พุทธังปิด ธัมมังปิด สังฆังปิด นะมะพะธะ” ตรงกลางเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่าน ส่วนด้านบนและด้านล่างเป็นยันต์สาม หรือยันต์ใบพัด เมื่อสร้างเสร็จ ปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานาน จึงได้นำออกบูชาเหรียญละ 30 บาท ในปี พ.ศ.2517 ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากบรรดาคณะศิษย์ ต่างเช่าบูชาเก็บสะสม ด้วยทราบว่าจัดสร้างอย่างดีตามแบบโบราณ คือ การแกะรายละเอียดของเหรียญแบบนูนต่ำ กลายเป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญของกรุงเก่า เหรียญหูเชื่อม หลวงพ่อหน่าย (หน้า-หลัง) มีนามเดิม หน่าย มีความดี วัน-เดือนที่เกิดไม่ระบุชัด ปี พ.ศ.2446 ที่ ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธย จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัด ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาแล้วได้ช่วยพ่อ-แม่ทำงานอยู่กับบ้านอายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดบ้านแจ้ง โดยมีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 22 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้ง โดยมีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า อินทสีโลพรรษาแรก เริ่มออกเดินธุดงค์ไปในป่าเขาตามภาคต่างๆ ซึ่งมีสัตว์ดุร้ายที่ชุกชุม แต่ไม่มีความเกรงกลัวกับสัตว์ร้ายเหล่านั้น เมื่อเดินธุดงค์อยู่ในป่าจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้กลับมายังวัดแจ้ง เพื่อเยี่ยมญาติโยม อยู่วัดบ้านแจ้งได้ 3 เดือน จึงเดินทางไปศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่เรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้พบกับ “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และศึกษาวิชากับท่านบ้าง ส่วนมากจะได้วิชาจากหลวงปู่ศุข แต่ยังไม่ทันที่จะได้วิชาแขนงสุดท้าย หลวงปู่ศุขก็มรณภาพไปเสียก่อน แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี แต่หลวงพ่อหน่ายได้ฝึกฝนทบทวนสรรพวิชาต่างๆ อย่างเข้มข้น จนถือว่าเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุขอย่างแท้จริง หลังจากนั้นไปศึกษาวิชาเครื่องรางของขลังและวิทยาคมกับอาจารย์ย่ามแดง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข เมื่อสำเร็จแล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งในขณะนั้นมีพระครูอนุวัติสังฆกิจ (เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาส ไปจำพรรษาอยู่ในป่าช้านานถึง 20 ปี โดยบอกว่าในป่าช้าเงียบและสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ช่วยพระครูสังฆกิจ (เคลือบ) พัฒนาวัดบ้านแจ้ง ด้วยการสร้างอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ เมื่อพระครูสังฆกิจมรณภาพ ญาติโยมจึงนิมนต์หลวงพ่อหน่ายขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ขณะที่มีอายุได้ 71 ปี โดยที่ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ปกครองดูแลพระภิกษุ-สามเณร รวมทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก-อุบาสิกามายาวนาน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบทเป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรมที่หลวงพ่อหน่ายได้ให้แก่ลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลายมายาวนาน ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อหน่ายอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย เมื่อครั้งยังดำรงขันธ์อยู่ แม้ชราภาพมากแล้ว แต่ยังแข็งแรงดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตา ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2531 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 74

 

 
THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook